วันจันทร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2561

นักพัฒนาหลักสูตร

นักพัฒนาหลักสูตร


ความหมายหลักสูตรของโอลิวา

โอลิวา (Oliva, 1982:10) กล่าวว่า หลักสูตร คือ แผน หรือ โปรแกรมสำหรับประสบการณ์ทั้งหลายที่ผู้เรียนจะต้องประสบปัญหาภายใต้การอำนวยการของโรงเรียน 
-แผนงานหรือโครงการที่จัดประสบการณ์ทั้งหมดให้แก่ผู้เรียนโดยแผนงานต่างๆ จะถูกกำหนดเป็นลายลักษณ์อักษร มีขอบเขตกว้างขวาง หลากหลาย เพื่อเป็นแนวทางการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่ต้องการ ดังนั้น หลักสูตรอาจเป็นหน่วย (Unit) เป็นรายวิชา (Course) หรือเป็นรายวิชาย่อย (Sequence of courses)  ทั้งนี้ แผนงานหรือโครงการทางการศึกษาดังกล่าว อาจจัดขึ้นได้ทั้งในและนอกชั้นเรียน ภายใต้การบริหารและดำเนินงานของสถานศึกษา

แบบจำลองการพัฒนาหลักสูตรของโอลิวา







   
     เซเลอร์ อเล็กซานเดอร์ ได้กล่าวถึงความหมายของหลักสูตรว่า เป็นแผนสำหรับจัดโอกาสการเรียนรู้ให้แก่บุคคลกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เพื่อบรรลุเป้าหมายหรือจุดมุ่งหมายที่วางไว้ให้โรงเรียนเป็นผู้รับผิดชอบ


แบบการจำลองการพัฒนาหลักสูตรของเซเลอร์ อเล็กซานเดอร์และเลวีส


       
            ทาบา (TAba, 1962, p. 454) ได้กล่าวว่า การพัฒนาหลักสูตร หมายถึงการ เปลี่ยนแปลงและปรับปรุงหลักสูตรเดิมให้ได้ผลดียิ่งขึ้นทั้งในด้านการวางจุดมุ่งหมาย การจัดเนื้อหาวิชาการเรียนการสอน การวัดผลและประเมินผลอื่นๆ เพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายอันใหม่ที่วางไว้




แบบจำลองการพัฒนาหลักสูตรของทาบา
บาทามีความเห็นว่าหลักสูตรต้องถูกออกแบบโดยครูผู้สอนไม่ใช่คนอื่น โดยส่งเสริมการสร้างสรรค์การสอนและการเรียนรู้มากกว่าการออกแบบหลักสูตร  มี 7 ขั้นตอนดังนี้
 ขั้นที่ 1 การวิเคราะห์ความต้องการจำเป็น
 ขั้นที่ 2 การกำหนดวัตถุประสงค์
 ขั้นที่ 3 การเลือกเนื้อหาสาระ
 ขั้นที่ 4 การจัดการเกี่ยวกับเนื้อหาสาระ
 ขั้นที่ 5 การเลือกประสบการณ์เรียนรู้
 ขั้นที่ 6 การจัดการเกี่ยวกับประสบการณ์เรียนรู้
 ขั้นที่ 7 การตัดสินใจว่าจะประเมินอะไรและวิธีการประเมิน





ธำรง บัวศรี (2542 : 7) ให้ความหมายว่า หลักสูตร คือ แผนซึ่งได้ออกแบบจัดทำขึ้นเพื่อแสดงถึงจุดหมายการจัดเนื้อหา กิจกรรมและมวลประสบการณ์ ในแต่ละโปรแกรมการศึกษา เพื่อผู้เรียนมีพัฒนาการในด้านต่าง ๆตามจุดหมายที่ได้กำหนดไว้



ปรียาพร  วงศ์อนุตรโรจน์ (2543 : 25) ได้กล่าวถึงความหมายของหลักสูตรไว้

  3 ประการคือ
 1. หลักสูตรเป็นศาสตร์ที่มีทฤษฎี หลักการและการนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนที่มุ่งหมายไว้
 2. หลักสูตรเป็นระบบในการจัดการศึกษาโดยมีปัจจัยนำเข้า(Input) ได้แก่ครูนักเรียน วัสดุอุปกรณ์ อาคารสถานที่ กระบวนการ(Process)ผลผลิต(Output)ได้แก่ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนความสำเร็จทางการศึกษา เป็นต้น
 3. หลักสูตรเป็นแผนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ที่มุ่งประสงค์จะอบรมฝึกฝนผู้เรียนให้เป็นไปตามเป้าหมายที่ต้องการ
                                 

วิชัย วงษ์ใหญ่ (2525 : 10) กล่าวว่า การพัฒนาหลักสูตร คือ การพยายามวางโครงการที่จะช่วยให้นักเรียนได้เรียนรู้ตรงตามจุดหมายที่กำหนดไว้ หรือการพัฒนาหลักสูตรและการสอนคือ ระบบโครงสร้างของการจัดโปรแกรมการสอน กำหนดจุดมุ่งหมาย เนื้อหาสาระ การปรับปรุงตำรา แบบเรียน คู่มือครู และสื่อการเรียนต่าง ๆ การวัดและประเมินผลการใช้หลักสูตรการปรับปรุงแก้ไข



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น