แบบจำลองของไทเลอร์
ไทเลอร์ (Tyler) มีแนวคิดเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงผู้เรียนในการกำหนดความมุ่งหมายของหลักสูตร และใช้ในสังคมปัจจุบันเป็นพื้นฐาน
โดยพิจารณาจากกฎเกณฑ์ของสังคมความต้องการทางด้านความสงบสุข กฎเกณฑ์และกฎหมาย ระเบียบแบบแผน
รูปแบบและความประพฤติของแต่ละครอบครัว
การแต่งกาย ความประพฤติและการพูดจา
ไทเลอร์ได้กระตุ้นให้คิดถึงบทบาทของนักพัฒนาหลักสูตรในการใช้สิ่งดังกล่าว เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาหลักสูตรและการสอน
ในเรื่องการประเมินผล ไทเลอร์ชี้ให้เห็นว่าจะต้องสอดคล้องกับความมุ่งหมายที่กำหนดไว้
โปรแกรมการเรียนการสอนของสถาบันการศึกษา”
ต่อจากนั้นยังได้โต้แย้งอีกด้วยว่าในการพัฒนาหลักสูตรใด ๆ
จะต้องตอบคำถาม 4 ประการคือ
1.
ความมุ่งหมายอะไรทางการศึกษาที่โรงเรียนควรจะแสวงหาเพื่อที่จะบรรลุความมุ่งหมายนั้น
2.
ประสบการณ์ทางการศึกษาคืออะไรที่จะสามารถจัดเตรียมไว้เพื่อให้บรรลุผลตามความมุ่งหมายเหล่านั้น
(กลยุทธ์การเรียนการสอนและเนื้อหาวิชา : Instructional
strategies and content)
3.
ประสบการทางการศึกษาเหล่นี้จะจัดให้มีประสิทธิภาพได้อย่างไร
(การจัดประสบการณ์เรียนรู้: Organizing
learning experiences)
4.
เราจะสามารถตัดสินได้อย่างไร ว่าความมุ่งหมายเหล่านั้นได้บรรลุผลแล้ว
(การประเมินสถานการณ์และการประเมินผล: Assessment and
evaluation)
ไทเลอร์ได้รับการขนานนามว่าเป็นบิดาของการเคลื่อนไหวทางหลักสูตร แบบจำลองการพัฒนาหลักสูตรของไทเลอร์
เป็นที่รู้จักกันดี ตั้งแต่ปี ค.ศ.1949
โดยไทเลอร์ได้เขียนหนังสือชื่อ Basic Principles of
Curriculum and nstruction
และได้พิมพ์ซ้ำซากถึง 32 ครั้ง
โดยในครั้งล่าสุดพิมพ์เมื่อ
ค.ศ.1974 ไทเลอร์ได้แสวงหาวิธีการที่จำเพาะของนิสัยของผู้พัฒนาหลักสูตรให้มีเหตุผล
มีระบบและวิธีการให้ความหมายให้มากขึ้นเกี่ยวกับภาระงาน
ไทเลอร์กล่าวว่าเป็นความจำเป็นที่ต้องนิยามความมุ่งหมาย (จุดประสงค์)
ให้กระจ่างเมื่อมีการพัฒนาหลักสูตร
การกำหนดจุดประสงค์ต้องการความคิดที่รอบคอบและพิจารณาแรงขับหลากหลายที่มีอิทธิพลต่อผู้เรียน เช่น
สังคม รายวิชา ปรัชญา
และอื่นๆ
ในเวลาเดียวกันจุดประสงค์จะลายเป็นพื้นฐานที่มีประสิทธิภาพในการเลือกประสบการณ์ที่เหมาะสมตลอดจนการประเมินผลแต่ละขั้นตอนจะเป็นไปอย่างมีเหตุผล ขั้นตอนทุกขั้นขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ที่ได้กำหนดไว้อย่างระมัดระวัง
ในขั้นของการประเมินผลก็ใช้จุดประสงค์เป็นฐานสำหรับเทคนิคการประเมินที่เหมาะสมที่จะชี้ว่าได้รับความสำเร็จตามจุดประสงค์อย่างกว้างขวางเพียงใด
เมื่อมีการกำหนดจุดประสงค์ที่พิจารณาว่าความเป็นไปได้ที่จะนำไปใช้แล้ว
จำเป็นต้องมีกระบวนการกลั่นกรองอีกขั้นหนึ่งตามแบบจำลองของไทเลอร์
เพื่อที่จะขจัดจุดประสงค์ที่ไม่มีความสำคัญและขัดแย้งกันออกไปโดยแนะนำให้ใช้ปรัชญาการศึกษาของโรงเรียนเป็นตะแกรงแรกสำหรับกลั่นกรองเป้าประสงค์
ปรัชญา (Philosophical screen) เหล่านี้ ไทเลอร์แนะนำครูของแต่ละโรงเรียนให้กำหนดปรัชญาการศึกษาและปรัชญาสังคมขึ้นมา
โดยผลักดันให้ครูวางเค้าโครงค่านิยมและภาระงานนี้ออกมาด้วยการเน้นเป้าประสงค์สี่ประการคือ
1.
การยอมรับความสำคัญของบุคคลในฐานะทางชาติพันธุ์วรรณาเชื้อชาติสังคมหรือเศรษฐกิจ
2.
โอกาสสำหรับการมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวางในธุรกิจระยะของกิจกรรมในกลุ่มสังคมและในสังคม
3.
การส่งเสริมให้มีบุคลิกภาพที่หลากหลายค่อนข้างจะมากกว่าที่ส่งเสริมให้มีบุคลิกภาพที่เป็นแบบเดียวกันทั้งหมด
4.
ความศรัทธาในเชาวน์ปัญญาว่าเป็นเสมือนวิธีการในการแก้ปัญหาสำคัญๆ
ค่อนข้างจะมีมากกว่าการขึ้นอยู่กับอำนาจของกลุ่มประชาธิปไตยหรือกลุ่มเจ้าขุนมูลนาย
ธรรมชาติของกระบวนการเรียนรู้ว่าเกิดขึ้นได้อย่างไรภายใต้เงื่อนไขอะไร
ใช้กลไกอะไรในการปฏิบัติงาน และอื่นๆ ในลักษณะที่คล้ายคลึงกันการประยุกต์ใช้นี้อย่างมีประสิทธิภาพจำเป็นต้องมีการฝึกหัดอย่างเพียงพอในด้านจิตวิทยาการศึกษาความเจริญเติบโตและพัฒนาการของมนุษย์
โดยผู้ที่รับผิดชอบเกี่ยวกับภาระงานของการพัฒนาหลักสูตรจะเป็นผู้ดำเนินการฝึกให้ไทเลอร์ได้อธิบายความสำคัญของจิตวิทยาดังนี้
1. ความรู้ทางจิตวิทยาการเรียนรู้สามารถทำให้เราแยกความต่างของการเปลี่ยนแปลงของมนุษย์ที่เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่คาดหวังผลออกจากการเปลี่ยนแปลงที่ไม่ได้เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่คาดหวัง
2.
ความรู้ในจิตวิทยาการเรียนรู้สามารถทำให้เราแยกความต่างในเป้าประสงค์ที่มีความเป็นไปได้ออกจากเป้าประสงค์ที่ต้องการใช้เวลานานหรือเกือบจะเป็นไปไม่ได้ที่จะบรรลุผลสำเร็จในระดับอายุที่มีการตรวจสอบและรับรองแล้ว
3.
จิตวิทยาการเรียนรู้ให้ความคิดบางอย่างแก่เรา
เกี่ยวกับระยะเวลาที่ใช้ในการบรรลุจุดประสงค์และระดับอายุที่ต้องใช้ความพยายามให้มีประสิทธิภาพสูงสุด
ไทเลอร์ได้แนะนำครูให้สนใจกับประสบการณ์การเรียนรู้ซึ่ง
1. จะพัฒนาทักษะในการคิด 2. จะช่วยให้ได้มาซึ่งข่าวสารข้อมูลตามที่ต้องการ 3.
จะช่วยในการพัฒนาเจตคติทางด้านสังคมและ 4. จะช่วยพัฒนาความสนใจ
ไทเลอร์ได้อธิบายถึงการจัดประสบการณ์ให้เป็นหลายๆ หน่วย
และพรรณนาวิธีการประเมินผลต่างๆ อย่างหลากหลาย
และแม้ว่าไทเลอร์จะไม่ได้บอกถึงทิศทางของประสบการณ์การเรียนรู้
(หรือการใช้วิธีการเรียนรู้การสอน)
แต่เราก็สามารถอ้างได้ว่าการเรียนการสอนต้องเกิดขึ้นในระหว่างการเลือกและการจัดประสบการณ์การเรียนรู้และการประเมินผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนจากประสบการณ์เหล่านี้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น