จุดมุ่งหมายของการประเมินหลักสูตร
กระบวนการพัฒนาหลักสูตรเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องและมีขอบเขตที่กว้างขวางการประเมินหลักสูตรจะต้องครอบคลุมขั้นตอนของการพัฒนาหลักสูตรเพราะฉะนั้นการประเมินหลักสูตรจึงมีขอบเขตของการประเมินที่กว้างขวางด้วยการประเมินหลักสูตรแต่ละจุดแต่ละขั้นตอนมีจุดมุ่งหมายที่แตกต่างกันไปในรายละเอียดแต่โดยทั่วไปแล้วจุดมุ่งหมายใหญ่ของการประเมินหลักสูตรจะมีความใกล้เคียงกันจะขอยกตัวอย่างจุดมุ่งหมายของการประเมินหลักสูตรที่นักศึกษาได้กล่าวไว้ดังนี้
ทาบา (Taba, 1962:310)
ได้กล่าวไว้ว่าการประเมินหลักสูตรกระทำขึ้นเพื่อศึกษากระบวนการต่างๆ
ที่กำหนดไว้ว่ามีการเปลี่ยนแปลงใดบ้างที่สอดคล้องหรือขัดแย้งกับวัตถุประสงค์ของการศึกษาการประเมินดังกล่าวจะครอบคลุมเนื้อหาทั้งหมดของหลักสูตรและกระบวนการต่างๆ
ที่เกี่ยวข้องซึ่งได้แก่จุดประสงค์ขอบเขตของเนื้อหาสาระคุณภาพของผู้ใช้บริหารและผู้ใช้หลักสูตรสมรรถภาพของผู้เรียนความสัมพันธ์ของวิชาต่างๆ
การใช้สื่อและวัสดุการสอน ฯลฯ
วิชัย วงษ์ใหญ่ (2537 : 218-219) กล่าวว่าการประเมินหลักสูตรโดยทั่วๆ
ไปจะมีจุดมุ่งหมายดังนี้เพื่อหาคุณค่าของหลักสูตรโดยตรวจสอบดูว่าหลักสูตรที่พัฒนาขึ้นมานั้นสามารถบรรลุตามวัตถุประสงค์หรือไม่เพื่อวัดผลดูว่าการวางเค้าโครงและรูปแบบระบบของหลักสูตรรวมทั้งวัสดุประกอบหลักสูตรและการบริหารและบริการหลักสูตรเป็นไปในทางที่ถูกต้องแล้วหรือไม่การประเมินหลักสูตรจากผู้เรียนเองหรือการประเมินผลผลิตเพื่อตรวจสอบดูว่าลักษณะที่พึงประสงค์เป็นไปตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตรหรือไม่เพียงใด
ใจทิพย์ เชื้อรัตนพงษ์ (2539 : 192
– 193) กล่าวว่าโดยทั่วไปการประเมินหลักสูตรใดๆ ก็ตามจะมีจุดมุ่งหมายสำคัญที่คล้ายคลึงกันดังนี้คือเพื่อหาทางปรับปรุงแก้ไขสิ่งบกพร่องที่พบในองค์ประกอบต่างๆ
ของหลักสูตรเพื่อหาทางปรับปรุงแก้ไขระบบการบริหารหลักสูตรการนิเทศกำกับดูแลการจัดกระบวนการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นเพื่อช่วยในการตัดสินใจของผู้บริหารว่าควรใช้หลักสูตรต่อไปอีกหรือควรยกเลิกการใช้หลักสูตรเพียงบางส่วนหรือยกเลิกทั้งหมดเพื่อต้องการทราบคุณภาพของผู้เรียนซึ่งเป็นผลผลิตของหลักสูตรว่ามีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปตามความมุ่งหวังของหลักสูตรหลักจากผ่านกระบวนการทางการศึกษามาแล้วหรือไม่อย่างไรจากจุดมุ่งหมายของการประเมินหลักสูตร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น