วันอาทิตย์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2561

รูปแบบในการพัฒนาหลักสูตร


รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรที่สำคัญมีดังนี้
        5.1 รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรจากเเนวคิดต่างประเทศ
           5.1.1 รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรตามเเนวคิดของไทเลอร์
                  ไทเลอร์ได้นำเสนอเเนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตร ต้องตามคำถามพื้นฐานที่สำคัญ 4 ประการ คือ
                1.จุดมุ่งหมายทางการศึกษา
                2.ประสบการณ์ทางการศึกษา
                3.จะจัดประสบการณ์ทางการศึกษาอย่างไรจึงจะทำให้สอนมีประสิทธิภาพ
                4.ประเมินประสิทธิภาพของการจัดประสบการณ์
ไทเลอร์ได้วางรูปแบบโครงสร้างของหลักสูตร



         การพัฒนาหลักสูตรเเละการเสนอของไทเลอร์ มีลักษณะสำคัญคือ
            1.จุดมุ่งหมายเป็นตัวกำหนดควบคุมการเลือกเเละจัดประสบการณ์การเรียน
            2.การเลือกเเละจัดประสบการณ์การเรียนที่คาดหวังว่าจะให้ผู้เรียนมีประสบการณ์การจัดกิจกรรมในการเรียนการสอน
            3.การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ว่าต้องคำนึงถึงความสัมพันธ์ในด้านเวลาต่อเวลาเเละเนื้อหาต่อเนื้อหา
            4.การประเมินผลเพื่อตรวจสอบดูว่าการจัดการเรียนการสอนได้บรรลุตามจุดมุ่งหมายตามกำหนดไว้หรือไม่

          5.1.2 รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรตามเเนวคิดของทาบา
              เเนวคิดของทาบาในการพัฒนาหลักสูตรใช้วิธีแบบรากหญ้า (Grass-roots approach) ประกอบด้วยขั้นตอนต่างๆ ดังนี้ 
1.วิเคราะห์ความต้องการ
2.กำหนดจุดมุ่งหมาย
3.คัดเลือกเนื้อหาสาระ
4.การจัดรวบรวมเนื้อหาสาระ
5.คัดเลือกประสบการณ์การเรียนรู้
6.การจัดรวบรวมประสบการณ์การเรียนรู้
7.กำหนดวิธีวัดเเละประเมินผล

       จากการพัฒนาหลักสูตรเเนวคิดของทาบาจะเริ่มจุดใดจุดหนึ่งก่อนก็ได้ ประสบการณ์การเรียนรู้เป็นกระบวนการที่ต้องคำนึงถึง มีอยู่ 2 ประการคือ
1.ยุทธวิธีการสอนเเละประสบการณ์เรียนรู้
2.ยุทธวิธีการสอนเป็นสิ่งที่หลอมรวมหลายสิ่งหลายอย่างเข้ามาไว้ด้วยกันการพิจารณาตัดสินใจเกี่ยวกับยุทธวิธีการสอน

          5.1.3 รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรตามเเนวคิดของเซย์เลอร์ อเล็กซานเดอร์เเละเลวิส
               เเนวคิิดของเซย์เลอร์ อเล็กซานเดอร์เเละเลวิส ประกอบด้วยกระบวนการพัฒนาหลักสูตรที่สำคัญ 4 ขั้นตอน คือ
              1.เป้าหมาย วัตถุประสงค์เเละความครอบคลุม
              2.การออกแบบหลักสูตร
              3.การนำหลักสูตรไปใช้
              4.การประเมินผลหลักสูตร 
          5.1.4 รููปแบบการพัฒนาหลักสูตรตามเเนวคิดของโอลิวา 

1.จุดมุ่งหมายของการศึกษา
2.วิเคราะห์ความต้องการจำเป็นของชุมชนที่สถานศึกษานั้นๆ
3.เป้าหมายของหลักสูตร
4.จุดประสงค์ของหลักสูตร
5.รวบรวมเเละนำไปใช้
6.กำหนดเป้าหมายของหารสอน
7.กำหนดจุดประสงค์ของการจัดการเรียนการสอนในเเต่ละวิชา
8.เลือกยุทธวิธีในการสอนเป็นขั้นที่ผู้เรียนเลือกยุทธวิธีที่เหมาะสมกับผู้เรียน
9.เลือกเทคนิควิธีการประเมินผลก่อนที่นำไปสอนจริง
10.นำยุทธวิธีไปใช้ปฎิบัติจริง
11.ประเมินผลจากการเรียนการสอน
12.ประเมินหลักสูตร

          5.1.5 รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรตามเเนวคิดของมัลคอล์ม สกิลเบ็ก
              สกิลเบ็ก ได้เสนอ เเนวคิดเกี่ยวกับรูปแบบของหลักสูตรที่เป็นพลวัต จุดเด่นคือ การวิเคราะห์สถานการณ์ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์สำคัญในการพัฒนาหลักสูตร รูปแบบหลักสูตรจึงเป็นพลวัตเเนวคิดการพัฒนาหลักสูตรของสกิลเบ็ก ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 การวิเคราะห์สถานการณ์ วิเคราะห์ปัจจัยที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับหลักสูตร ประกอบด้วยปัจจัยภายนอกเเละภายใน
- ปัจจัยภายนอก ได้แก่
1.การเปลี่ยนแปลงทางสังคมเเละวัฒนธรรม
2.การเปลี่ยนแปลงระบบการศึกษาเเละหลักสูตร
3.การเปลี่ยนแปลงเนื้อหาวิชา
4.การเพิ่มศักยภาพของครูอาจารย์
5.การนำทรัพยากรมาใช้ในโรงเรียน

-ปัจจัยภายใน ได้เเก่
1.เจตคติ ความสามารถเเละความต้องการทางการศึกษาของนักเรียน
2.ค่านิยม เจตคติ ทักษะ ประสบการณ์ของครู
3.ความคาดหวังของโรงเรียน
4.วัสดุอุปกรณ์ ทรัพยากร งบประมาณ แผนงาน
5.การยอมรับเเละการรับรู้ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการนำหลักสูตรมาใช้ 

ขั้นตอนที่ 2  การกำหนดวัตถุประสงค์ การวิเคราะห์สถานการณ์ เพื่อนำไปใช้กำหนดวัตถุประสงค์ซึ่งการกำหนดวัตถุประสงค์เปลี่ยนแปลงไปตามปัจจัยภายนอกเเละภายใน

ขั้นตอนที่ 3 การออกแบบการจัดการเรียนการสอน เป็นการออกแบบการเรียนการสอนต้องในสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการจัดการศึกษา

ขั้นตอนที่ 4 การนำหลักสูตรไปใช้  การวางแผนเเละการออกแบบหลักสูตรก็เพื่อให้หลักสูตรนั้นนำไปสู่การปฎิบัติให้บังเกิดผลตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้

ขั้นตอนที่ 5 การประเมินการเรียนรู้เเละการประเมินผลหลักสูตร ประเมินการเรียนรู้ เป็นการตัดสินคุณค่าในศักยภาพการเรียนรู้เเละการปฎิบัติของผู้เรียนรู้ ส่วนการประเมิน หมายถึง การรวบรวมหลักฐานเพื่อนำมาตัดสินคุณค่าเกี่ยวกับหลักสูตร

          5.1.6 รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรตามเเนวคิดของวอล์คเกอร์
                เดคเกอร์ วอล์คเกอร์ ปฎิเสธเเนวคิดการพัฒนาหลักสูตรด้วยการกำหนดสิ่งต่างๆ ที่เกี่ยวกับหลักสูตรด้วยการอธิบายเชิงเหตุผล
ได้เเบ่งหลักสูตรออกเป็น 3 ขั้นตอน คือ
ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาข้อมูลพื้นฐาน ซึ่งได้มาจากการศึกษาเชิงประจักษ์ที่ได้จากมุมมองต่างๆความเชื่อ ค่านิยม ทฤษฎี เเนวคิด เป้าหมาย 

ขั้นตอนที่ 2 การพิจารณาไตร่ตรอง อซึ่งเป็นการนำข้อมูลพื้นฐานทั่งไปที่ได้จากการวิเคราะห์ปัญหาต่างๆเข้ามาสู่กระบวนการปรึกษาหรือการอภิปราย

ขั้นตอนที่ 3 การออกแบบหลักสูตร เป็นการวินิฉัยเกี่ยวกับสาระสำคัญของหลักสูตรก่อน โดยคำนึงถึงองค์ประกอบอย่างรอบด้านของกระบวนการพัฒนาหลักสูตร

5.2 รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรของไทย 
       การพัฒนาหลักสูตรเพื่อใช้ในการจัดการเรียนการสอนขั้นพื้นฐานเท่าที่ผ่านมาเป็นหน้าที่ของหน่วยงานระดับนโยบาย โดยกรมวิชาการ เป็นผู้พัฒนาหลักสูตรแกนกลางหรือหลักสูตรระดับชาติ
รูปแบบสำหรับการพัฒนาหลักสูตรโรงเรียนในครั้งนี้ มีดังต่อไปนี้ 
          5.2.1 รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรของกรมวิชาการ 
                กรมวิชาการกระทรวงศึกษาธิการ ได้กำหนด ให้โรงเรียนสามารถพัฒนาหลักสูตรเองได้ภายใต้เเนวทางการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น ซึ่งมีรูปแบบการดำเนินงานพัฒนาหลักสูตรเอง 4 ลักษณะ ดังต่อไปนี้ 
        1.การพัฒนาหลักสูตรโดยการปรับกิจกรรมการเรียนการสอน
        2.การพัฒนาหลักสูตรโดยการปรับรายละเอียดของเนื้อหา 
        3.การพัฒนาหลักสูตรโดยการพัฒนาสื่อการเรียนการสอน
        4.การพัฒนาหลักสูตรโดยการจัดทำวิชารายวิชาเพิ่มเติมขึ้นมาใหม่
1.การพัฒนาหลักสูตรโดยการปรับกิจกรรมการเรียนการสอน
    การพัฒนาหลักสูตรโดยการปรับกิจกรรมการเรียนการสอน โดยศึกษาจากคำอธิบายหรือคำอธิบายวิชาที่กำหนด ประกอบด้วยส่วนต่างๆคือ 1.กิจกรรม 2.เนื้อหา 3.จุดประสงค์
2.การพัฒนาหลักสูตรโดยการปรับรายละเอียดของเนื้อหา
    การพัฒนาหลักสูตรลักษณะนี้ เป็นการดำเนินการต่อเนื่องจากที่โรงเรียนได้วิเคราะห์เนื้อหา/คำอธิบายรายวิชามาเเล้ว โรงเรียนต้องนำเอาผลการวิเคราะห์ในส่วนที่เป็นเนื้อหามาวิเคราะห์ต่อไปอีก
3.การพัฒนาหลักสูตรโดยการพัฒนาสื่อการเรียนการสอน 
      การพัฒนาหลักสูตรในลักษณะของการพัฒนาสื่อการเรียนการสอน ด้วยการเลือกปรับปรุงหรือจัดทำสื่อการเรียนการสอนขึ้นใหม่ มัลักษณะดังนี้  1.ประเภทของสื่อการเรียนการสอน 2. การเลือกใช้สื่อการเรียนการสอน 3.การปรับปรุงสื่อการเรียนการสอน 4. การจัดทำสื่อการเรียนการสอน
4.การพัฒนาหลักสูตรโดยการจัดทำวิชา/รายวิชาเพิ่มเติมขึ้นมาใหม่ เเนวการจัดทำวิชา/รายวิชาเพิ่มเติม
     การพัฒนากหลักสูตรลักษณะนี้เป็นการจัดทำวิชาหรือรายวิชาขึ้นมาใหม่ หลังจากที่ศึกษามาเเล้วพบว่า สิ่งที่ควรพัฒนานั้นไม่มีปรากฎอยู่ในหลักสูตรของกลุ่มประสบการณ์หรือรายวิชา/กลุ่มวิชาใดๆ  รูปแบบของคณะทำงานโดยมีขั้นตอนการจัดทำดังนี้ 
1.ศึกษาจุดมุ่งหมายของหลักสูตร
2.นำเอาผลการศึกษาผลการวิเคราะห์สภาพที่ควรจะเป็นของการจัดการศึกษาสอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงของท้องถิ่น
3.กำหนดจุดประสงค์ของวิชา/รายวิชาที่จะดำเนินการจัดทำขึ้นมาใหม่
4.กำหนดเนื้อหา โดยการวิคราะห์จาดจุดประสงค์ ซึ่งระบุคำหลักของจุดประสงค์รายวิชานั้นๆ ซึ่งประกอบด้วยส่วนที่เป็นความรู้ สิ่งที่ให้ผู้เรียน ศึกษา เเละส่วนที่เป็นทักษะ สิ่งที่้ต้องฝึก
5.กำหนดตามเวลาเรียนสำหรับคำอธิบายหรือรายวิชาที่จัดทำขึ้นใหม่ ในการกำหนดตามเวลาต้องเป็นไปตามเงื่อนไข เช่น ระดับประถมศึกษา จำนวนคาบเวลาเรียนที่กำหนดขึ้น
6.เขียนคำอธิบาย/คำอธิบายรายวิชา ให้เป็นไปตามรูปแบบที่กำหนดไว้ในหลักสูตร
7.จัดทำเอกสารชี้เเจงรายละเอียดประกอบการจัดทำวิชาหรือรายวิชาที่จัดทำขึ้นใหม่ตามแบบฟอร์มที่กำหนด
8.ในการเสนอขออนุมัติให้ส่งเอกสารในข้อ 6 เเละ 7 ให้แก่หน่วยงานที่ทำหน้าที่พิจารณาอนุมัติ เมื่อได้รับอนุมัติเเละกระทรวงศึกษาธิการให้ได้คำอธิบาย/คำอธิบายรายวิชาดังกล่าวเเล้วจึงนำเอาคำอธิบายมาจัดในการเรียนการสอนในโรงเรียน
          5.2.2 รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรของกรรมการศึกษานอกโรงเรียน
                 ได้เปิดโอกาสให้สถานศึกษาพัฒนาหลักสูตรได้เอง โดยพัฒนา "หลักสูตรท้องถิ่น" เเละให้ความมหมายว่าเป็นหลักสูตรที่สร้างขึ้นจสกสภาพปัญหาเเละความต้องการของผู้เรียน
รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรของกรมการศึกษานอกโรงเรียนที่นำหลักสูตรแกนกลางมาปรับให้เข้ากับสภาพของผู้เรียน มีขั้นตอนการดำเนินงาน ดังนี้ 
ขั้นตอนที่ 1 การวิเคราะห์หลักสูตรเเกนกลางที่สัมพันธ์กับสภาพปัญหาของชุมชน
ขั้นตอนที่ 2 การจัดหมวดหมู่สภาพปัญหาเเละความต้องการที่ส่งผลต่อผู้เรียน
ขั้นตอนที่ 3 การเขียนแผนการสอนโดยดำเนินการ ดังนี้
 -การกำหนดหัวข้อปัญหา
 -การเขียนสาระสำคัญ
 -การกำหนดขอบเขตเนื้อหา
 -กำหนดจุดประสงค์ทั่วไป
 -การกำหนดจุดประสงค์เฉพาะ
 -การกำหนดกิจกรรมการเรียนการสอน
 -สื่อการเรียนการสอน
 -การประเมินผล 
ขั้นตอนที่ 4 การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
ขั้นตอนที่ 5 การประเมินผล 
          5.2.4 รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรของไทเลอร์ (Tyler)
                  ใน ค.ศ. 1949 ไทเลอร์ได้เสนอเเนวคิดพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตรที่รู้จักกันดี คือ หลักสูตรเเละเหตุผลพื้นฐาน 4 ประการ ดังนี้
1.มีความมุ่งหมายทางการศึกษาอะไรบ้างที่โรงเรียนควรจะเเสวงหา
2.มีประสบการณ์ทางการศึกษา
3.จะจัดประสบการณ์ทางการศึกษา
4.จะประเมินผลของประสบการณ์ในการเรียนอย่างไร
  
  จากพื้นฐานทั้ง 4 ข้อ ชี้ให้เห็นว่าการสร้างหรือพัฒนาหลักสูตรต้องคำนึงถึงการกำหนดจุดมุ่งหมาย การกำหนดประสบการณ์ทางการศึกษา 
    รูปแบบของการพัฒนาหลักสูตรของไทเลอร์เริ่มจาก
1.การกำหนดจุดมุ่งหมาย 
2.การเลือกเเละจัดประสบการณ์
3.การประเมินผล

     จากรูปแบบการพัฒนาหลักสูตรเเละการสอนไทเลอร์ การพัฒนาหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการมีส่วนคล้ายกับวิธีการของไทเลอร์มาก เช่น การกำหนดจุดประสงค์ของหลักสูตร


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น