วันจันทร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

การประเมินการพัฒนา


การประเมินพัฒนาการ (U)

การประเมินพัฒนาการ หมายถึง กระบวนการสังเกตพฤติกรรมของเด็กในขณะทำกิจกรรม แล้วจดบันทึกลงในเครื่องมือที่ผู้สอนสร้างขึ้นหรือกำหนดอย่างต่อเนื่อง เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมที่เด็กแสดงออกในแต่ละครั้ง เป็นข้อมูลในการพัฒนากิจกรรมให้เด็กได้รับการพัฒนาอย่างเต็มตามศักยภาพ
การประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัยเป็นกระบวนการต่อเนื่องและเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมปกติตามตารางกิจกรรมประจาวัน และครอบคลุมพัฒนาการของเด็กทุกด้าน ได้แก่ ด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา เพื่อนาผลมาใช้ในการจัดกิจกรรม หรือประสบการณ์พัฒนาเด็กให้เต็มตามศักยภาพของแต่ละคน ด้วยเหตุนี้มีผู้สอนซึ่งเป็นผู้ที่จะทาหน้าที่ประเมินพัฒนาการเด็กจะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ ความเข้าใจในพัฒนาการเด็กวัย ๔ - ๕ ปีเป็นอย่างดี และต้องเข้าใจโครงสร้างของการประเมินอย่างละเอียดว่าจะประเมินเมื่อไหร่และอย่างไร ต้องมีความสามารถในการเลือกเครื่องมือและวิธีการที่จะใช้ได้อย่างถูกต้อง จึงจะทาให้ผลของการประเมินนั้นเที่ยงตรงและเชื่อถือได้ การประเมินพัฒนาการอาจทำได้หลายวิธี แต่วิธีที่ง่ายต่อการปฏิบัติและนิยมใช้กันมาก คือ การสังเกต ซึ่งต้องทาอย่างต่อเนื่องและบันทึกไว้เป็นหลักฐานอย่างสม่าเสมอ อาจกล่าวได้ว่าผู้สอนหรือผู้เกี่ยวข้องกับเด็กต้องคานึงถึงเรื่องต่างๆ ดังต่อไปนี้

หลักการประเมินพัฒนาการของเด็ก
๑. ประเมินพัฒนาการของเด็กครบทุกด้านและนำผลมาพัฒนาการเด็ก
๒. ประเมินเป็นรายบุคคลอย่างสม่าเสมอต่อเนื่องตลอดปี
๓. สภาพการประเมินควรมีลักษณะเช่นเดียวกับการปฏิบัติกิจกรรมประจาวัน
๔. ประเมินอย่างเป็นระบบ มีการวางแผน เลือกใช้เครื่องมือและจดบันทึกไว้เป็นหลักฐาน
๕. ประเมินตามสภาพจริงด้วยวิธีการหลากหลายเหมาะกับเด็ก รวมทั้งใช้แหล่งข้อมูลหลายๆด้าน ไม่ควรใช้การทดสอบ

ขั้นตอนการประเมินพัฒนาการ
การประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัย จะต้องผ่านขั้นตอนต่างๆ ดังต่อไปนี้
๑. ศึกษา และทำความเข้าใจพัฒนาการของเด็กในแต่ละช่วงอายุทุกด้าน ได้แก่ ด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา ดังปรากฏในหลักสูตรการศึกษาเด็กปฐมวัย พุทธศักราช ๒๕๔๖ อย่างละเอียด จึงจะทาให้ดำเนินการประเมินพัฒนาการได้อย่างถูกต้องและตรงตามความจริง
๒. วางแผนเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือที่เหมาะสมสำหรับใช้บันทึกและประเมินพัฒนาการ เช่น แบบบันทึกพฤติกรรมเหมาะที่จะใช้บันทึกพฤติกรรมของเด็ก การบันทึกรายวัน เหมาะกับการบันทึกกิจกรรมหรือประสบการณ์ที่เกิดขึ้นในชั้นเรียนทุกวัน การบันทึกการเลือกของเด็กเหมาะสาหรับใช้บันทึกลักษณะเฉพาะหรือปฏิกิริยาที่เด็กมีต่อสิ่งต่างๆรอบตัว เป็นต้น ดังนั้น จึงเป็นหน้าที่ของผู้สอนที่จะเลือกใช้เครื่องมือประเมินพัฒนาการให้เหมาะสม เพื่อจะได้ผลของพัฒนาการที่ถูกต้องตามความต้องการ
๓.ดำเนินการประเมินและบันทึกพัฒนาการ หลังจากที่ได้วางแผนและเลือกเครื่องมือที่จะใช้ประเมินและบันทึกพัฒนาการแล้ว ก่อนจะลงมือประเมินและบันทึกจะต้องอ่านคู่มือหรือคาอธิบายวิธีการใช้เครื่องมือนั้นๆ อย่างละเอียด แล้วจึงดำเนินการตามขั้นตอนที่ปรากฏในคู่มือและบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรต่อไป
๔. ประเมินและสรุป การประเมินและสรุปนั้นต้องดุจากผลการประเมินหลายๆครั้ง มิใช่เพียงครั้งเดียว หรือนำเอาผลจากการประเมินเพียงครั้งเดียวมาสรุป อาจทำให้ผิดพลาดได้ ผลการประเมินดูได้จากผลที่ปรากฏในเครื่องมือประเมินและบันทึกพัฒนาการ เช่น ประเมินการใช้กล้ามเนื้อใหญ่ของเด็กอายุ ๓ ปี ปรากฏว่ายังเดินขึ้นบันไดสลับเท้าไม่ได้ ก็ต้องมาตีความว่ากาลังขาของเด็กยังมีไม่พอที่จะเดินสลับเท้าขึ้นบันได อาจสรุปได้ว่าพัฒนาการกล้ามเนื้อใหญ่ยังไม่แข็งแรงเหมาะสมกับวัยต้องจัดกิจกรรมพัฒนากล้ามเนื้อใหญ่ส่วนขาต่อไป
๕. รายงานผล เมื่อได้ผลจากการประเมินและสรุปพัฒนาการของเด็กแล้ว ผู้สอนจะต้องตัดสินใจว่าจะรายงานข้อมูลไปยังผู้ใด เพื่อจุดประสงค์อะไร และจะต้องใช้รูปแบบใดสาหรับรายงาน เช่น ต้องรายงานผู้บริหารสถานศึกษา ผู้ปกครอง เพื่อให้ทราบว่ากิจกรรมหรือประสบการณ์ที่สถานศึกษาจัดให้เด็กนั้น ส่งเสริมพัฒนาการของเด็กแต่ละคนอย่างไร เป็นไปตามจุดประสงค์หรือไม่ เพื่อจะได้วางแผนช่วยเหลือเด็กได้ตรงตามความต้องการต่อไป โดยสถานศึกษาจะมีสมุดรายงานประจาตัวเด็ก ผู้สอนใช้สมุดรายงานนั้นเป็นเครื่องมือหรือแบบรายงานผู้ปกครองได้ และถ้าผู้สอนมีข้อเสนอแนะหรือจะขอความร่วมมือจากผู้ปกครองเกี่ยวกับการส่งเสริมพัฒนาการเด็กก็อาจจะเพิ่มเติมลงไปในสมุดรายงาน และต้องคานึงไว้เสมอไม่ว่าจะใช้แบบรายงานใด ข้อมูลควรจะมีความหมายเกิดประโยชน์แกเด็กเป็นสาคัญ การบันทึกข้อความลงในสมุดรายงานประจาตัวเด็ก ผู้สอนควรใช้ภาษาในทางสร้างสรรค์มากว่าในทางลบ
๖. การให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการประเมิน ผู้สอนต้องตระหนักว่าการทางานร่วมกับผู้ปกครองเกี่ยวกับการพัฒนาเด็กเป็นเรื่องสำคัญมาก ผู้สอนควรยกย่องผู้ปกครองที่พยายามมีส่วนร่วมในการพัฒนาเด็ก ผู้สอนจะต้องต้อนรับผู้ปกครองที่มาสถานศึกษา ขอบคุณสาหรับความร่วมมือ เขียนจดหมายถึงผู้ปกครองเพื่อรายงานเรื่องเด็ก พูดคุยด้วยตนเองหรือทางโทรศัพท์ สิ่งเหล่านี้จะทำให้ผู้ปกครองรู้สึกถึงความสำคัญของตนเองและต้องการที่จะมีส่วนร่วมกับผู้สอนในการพัฒนาเด็กของตน  การติดต่อสัมพันธ์อันดีกับผู้ปกครองควรจะเป็นการติดต่อสื่อสาร ๒ ทาง คือ จากสถานศึกษาไปสู่บ้านและจากบ้านมายังสถานศึกษา กระตุ้นให้ผู้ปกครองแสดงความคิดเห็นที่มีประโยชน์ต่อการจัดประสบการณ์ให้แก่เด็ก เพราะผู้ปกครองจะให้ข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับตัวเด็กซึ่งผู้สอนสามารถนาไปใช้เป็นพื้นฐานในการจัดกิจกรรมที่เหมาะสมเพื่อพัฒนาเด็กทุกคนได้เป็นอย่างดีสาหรับการติดต่อกับผู้ปกครองอาจทาได้หลายวิธีเช่น การติดต่อด้วยวาจา ได้แก่ การสนทนาด้วยตนเอง ทางโทรศัพท์ การเยี่ยมบ้าน การประชุมผู้ปกครอง การติดต่อด้วยวิธีอื่น เช่น ปูายติดประกาศ วารสาร ข่าวสาร ตู้รับฟังความคิดเห็น เป็นต้น นอกจากนี้อาจให้ผู้ปกครองอาสาสมัครมาช่วยงานผู้สอนในสถานศึกษา เช่น เล่านิทาน ร้องเพลงและอ่านหนังสือให้เด็กฟัง ช่วยในเวลาเด็กทำกิจกรรมเสรี ช่วยสังเกตเด็ก บันทึกพัฒนาการและอื่นๆอีกมากมายที่จะก่อให้เกิดประโยชน์แก่เด็ก ซึ่งสถานศึกษาควรเปิดโอกาสให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการทางานกับผู้สอนเป็นอย่างยิ่ง

วิธีการและเครื่องมือที่ใช้ในการประเมินพัฒนาการเด็ก
ในการสรุปผลการประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัยแต่ละครั้ง ควรใช้วิธีการประเมินอย่างหลากหลาย เพื่อให้ได้ข้อมูลที่สมบูรณ์ที่สุด วิธีการที่เหมาะสมและนิยมใช้ในการประเมินเด็กปฐมวัย มีด้วยกันหลายวิธี ดังต่อไปนี้
๑. การสังเกตและการบันทึกการสังเกตมีอยู่ ๒ แบบ คือ การสังเกตอย่างมีระบบ ได้แก่ การสังเกตอย่างมีจุดมุ่งหมายที่แน่นอนตามแผนที่วางไว้ และอีกแบบหนึ่งคือการสังเกตแบบไม่เป็นทางการ เป็นการสังเกตในขณะที่เด็กกาลังทากิจกรรมประจาวันและเกิดพฤติกรรมที่ไม่คาดคิดว่าจะเกิดขึ้น และผู้สอนจดบันทึกไว้ การสังเกตเป็นวิธีการที่ผู้สอนใช้ในการศึกษาพัฒนาการของเด็ก เมื่อมีการสังเกตก็ต้องมีการบันทึก ผู้สอนควรทราบว่าจะบันทึกอะไร การบันทึกพฤติกรรมมีความสาคัญอย่างยิ่งที่ต้องทาอย่างสม่าเสมอ เนื่องจากเด็กเจริญเติบโตและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จึงต้องนามาบันทึกเป็นหลักฐานไว้อย่างชัดเจน การสังเกตและการบันทึกพัฒนาการเด็กสามารถใช้แบบง่ายๆ คือ
๑.๑ แบบบันทึกพฤติกรรมใช้บันทึกเหตุการณ์เฉพาะอย่าง โดยบรรยายพฤติกรรมเด็กผู้บันทึกต้องบันทึกทุกวัน เดือน ปีเกิดของเด็ก และวัน เดือน ปีที่ทาการบันทึกแต่ละครั้ง
๑.๒ การบันทึกรายวันเป็นการบันทึกเหตุการณ์หรือประสบการณ์ที่เกิดขึ้นในชั้นเรียนทุกวัน ถ้าหากบันทึกในรูปแบบของการบรรยายก็มักจะเน้นเฉพาะเด็กรายที่ต้องการศึกษา ข้อดีของการบันทึกรายวัน คือ การชี้ให้เห็นความสามารถเฉพาะอย่างของเด็ก จะช่วยกระตุ้นให้ผู้สอนได้พิจารณาปัญหาของเด็กเป็นรายบุคคล ช่วยให้ผู้เชี่ยวชาญมีข้อมูลมากขึ้นสาหรับวินิจฉัยเด็กว่าสมควรจะได้รับคาปรึกษาเพื่อลดปัญหาและส่งเสริมพัฒนาการของเด็กได้อย่างถูกต้อง นอกจากนั้นยังช่วยชี้ให้เห็นข้อดีข้อเสียของการจัดกิจกรรมและประสบการณ์ได้เป็นอย่างดี
๑.๓ แบบสารวจรายการช่วยให้สามารถวิเคราะห์เด็กแต่ละคนได้ค่อนข้างละเอียดเหมาะสมกับเด็กระดับปฐมวัย
๒. การสนทนา สามารถใช้การสนทนาได้ทั้งเป็นกลุ่มหรือรายบุคคล เพื่อประเมินความสามารถในการแสดงความคิดเห็นและพัฒนาการใช้ภาษาของเด็กและบันทึกผลการสนทนาลงในแบบบันทึกพฤติกรรมหรือบันทึกรายวัน
๓. การสัมภาษณ์ด้วยวิธีพูดคุยกับเด็กเป็นรายบุคคลและควรจัดในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมเพื่อไม่ให้เกิดความเครียดและวิตกกังวล ผู้สอนควรใช้คาถามที่เหมาะสมเปิดโอกาสให้เด็กได้คิดและตอบอย่างอิสระ จะทาให้ผู้สอนสามารถประเมินความสามารถทางสติปัญญาของเด็กและค้นพบศักยภาพในตัวเด็กได้โดยบันทึกข้อมูลลงในแบบสัมภาษณ์
๔. การรวบรวมผลงานที่แสดงออกถึงความก้าวหน้าแต่ละด้านของเด็กเป็นรายบุคคล
โดยจัดเก็บข้อมูลไว้ในแฟ้มผลงาน ( Portfolio ) ซึ่งเป็นวิธีรวบรวมและจัดระบบข้อมูลต่างๆที่เกี่ยวกับตัวเด็กโดยใช้เครื่องมือต่างๆรวบรวมเอาไว้อย่างมีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจนแสดงการเปลี่ยนแปลงของพัฒนาการแต่ละด้าน นอกจากนี้ยังรวมข้อมูลอื่นๆ เช่น แบบสอบถามผู้ปกครอง แบบสังเกตพฤติกรรม แบบบันทึกสุขภาพอนามัย ฯลฯ เอาไว้ในแฟูมผลงาน เพื่อผู้สอนจะได้ข้อมูลที่เกี่ยวกับตัวเด็กอย่างชัดเจนและถูกต้อง การเก็บผลงานของเด็กจะไม่ถือว่าเป็นการประเมินผลถ้างานแต่ละชิ้นถูกรวบรวมไว้โดยไม่ได้รับการประเมินจากผู้สอนและไม่มีการนาผลมาปรับปรุงพัฒนาเด็กหรือปรับปรุงการสอนของผู้สอน ดังนั้นจึงเป็นแต่การเก็บสะสมผลงานเท่านั้น เช่น แฟูมสะสมผลงานขีดเขียน งานศิลปะ จะเป็นเพียงแค่แฟูมสะสมงานเด็กถ้าไม่มีการประเมินแฟูมสะสมงานนี้จะเป็นเครื่องมือการประเมินต่อเมื่องานที่สะสมแต่ละชิ้นถูกใช้ในการบ่งบอกความก้าวหน้า ความต้องการของเด็ก และเป็นการเก็บสะสมอย่างต่อเนื่องที่สร้างสรรค์โดยผู้สอนและเด็ก
ผู้สอนสามารถใช้พอตโฟลิโออย่างมีคุณค่าสื่อสารกับผู้ปกครอง เพราะการเก็บผลงานเด็กอย่างต่อเนื่องและสม่าเสมอในแฟูมสะสมงานเป็นข้อมูลให้ผู้ปกครอง ให้ผู้ปกครองสามารถเปรียบเทียบความก้าวหน้าที่ลูกของตนมีเพิ่มขึ้นจากผลงานชิ้นแรกกับชิ้นต่อๆมา ข้อมูลในแฟ้มสะสมงานประกอบด้วย ตัวอย่างผลงานการขีดเขียน การอ่าน และข้อมูลบางประการของเด็กที่ผู้สอนเป็นผู้บันทึก เช่น จานวนเล่มของหนังสือที่เด็กอ่าน ความถี่ของการเลือกอ่านที่มุมหนังสือในช่วงเวลาเลือกเสรี การเปลี่ยนแปลงอารมณ์ ทัศนคติ เป็นต้น ข้อมูลเหล่านี้จะสะท้อนภาพของความงอกงามในเด็กแต่ละคนได้ชัดเจนกว่าเกรดการประเมินโดยใช้การให้เกรด ผู้สอนจะต้องชี้แจงให้ผู้ปกครองทราบถึงที่มาของการเลือกชิ้นงานแต่ละชิ้นที่สะสมในแฟ้มสะสมงาน เช่น เป็นชิ้นงานที่ดีที่สุดในช่วงระยะเวลาที่เลือกชิ้นงานนั้น เป็นชิ้นงานที่แสดงความต่อเนื่องของงานโครงการ ฯลฯ ผู้สอนควรเชิญผู้ปกครองมามีส่วนร่วมในการคัดสรรชิ้นงานที่บรรจุในแฟ้มของเด็ก
ข้อควรพิจารณาในการเลือกเก็บข้อมูลไว้ในแฟ้มผลงาน มีดังนี้ คือ
๔.๑ข้อมูลที่แสดงถึงระดับพัฒนาการและความสำเร็จ เกี่ยวกับกิจกรรมที่เด็กกระทำซึ่งได้มาจากเครื่องมือการประเมิน
๔.๒ข้อมูลที่รวบรวมจากผลงานต่างๆของเด็ก อาจให้เด็กช่วยเลือกเก็บด้วยตัวเด็กเอง หรือผู้สอนกับเด็กร่วมกันเลือก
๔.๓ข้อมูลของเด็กที่ได้จากผู้ปกครอง
๕. การประเมินการเจริญเติบโตของเด็กตัวชี้ของการเจริญเติบโตในเด็กที่ใช้ทั่วๆไป ได้แก่ น้ำหนัก ส่วนสูง เส้นรอบ เส้นรอบศีรษะ ฟัน และการเจริญเติบโตของกระดูก แนวทางประเมินการเจริญเติบโต มีดังนี้
       ๕.๑ การประเมินการเจริญเติบโตโดยการชั่งน้าหนักและวัดส่วนสูงเด็กแล้วนาไปเปรียบเทียบกับเกณฑ์ปกติ ในกราฟแสดงน้าหนักตามเกณฑ์อายุของกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งจะบอกการเจริญเติบโตโดยรวม วิธีการใช้กราฟมีขั้นตอนดังนี้
เมื่อชั่งน้าหนักเด็กแล้ว นำน้ำหนักมาจุดเครื่องหมายกากบาทลงบนกราฟ และอ่านการเจริญเติบโตของเด็ก โดยดูดเครื่องหมายกากบาทว่าอยู่ในแถบสีใด อ่านข้อความที่อยู่บนแถบสีนั้น ซึ่งแบ่งภาวะโภชนาการเป็น ๓ กลุ่ม คือ น้าหนักตามเกณฑ์น้าหนักค่อนข้างมาก นาหนักค่อนข้างน้อย หากพบว่าเด็กมีน้าหนักมากหรือน้อยกว่าเกณฑ์มากเกินไปควรรีบปรึกษาแพทย์ทันที
        ๕.๒ การวัดเส้นรอบศีรษะมีความสาคัญในการติดตามการเจริญเติบโตของสมอง ในเด็กที่มีเส้นรอบศีรษะเล็กกว่าปกติเมื่อเปรียบเทียบกับวัยอาจแสดงถึงความปกติของสมอง เช่น สมองเล็กกว่าปกติหรือกะโหลกศีรษะเชื่อมเร็วกว่าปกติ ซึ่งหากวินิจฉัยได้เร็วและส่งต่อเด็กไปรับการรักษาทันท่วงที อาจช่วยแก้ไขความพิการนี้ได้ ในทานองเดียวกันถ้าเส้นรอบศีรษะวัดได้มากกว่าปกติเมื่อเปรียบเทียบกับวัยเด็ก ซึ่งแสดงถึงเด็กมีหัวโตกว่าปกติอาจเกิดจากมีน้าในสมองมากกว่าปกติ โรคนี้หากวินิจฉัยได้เร็วและเด็กได้รับการรักษาทันท่วงทีก็จะช่วยแก้ไขเป็นปกติได้เช่นกัน จึงควรวัดเส้นรอบศีรษะในเด็กอายุต่ากว่า ๒ ปี ทุกครั้งที่รับบริการตรวจสุขภาพ
        ๕.๓ การตรวจสุขภาพปากและฟันคือการตรวจสอบและรักษาสิ่งผิดปกติของฟันและปาก การรักษาให้ฟันและปากสะอาดและมีสุขภาพดีอยู่เสมอผู้สอนควรแนะนาให้ผู้ปกครอบพาเด็กไปให้ทันตแพทย์ตรวจอย่างสม่าเสมอปีละ ๑-๒ ครั้ง
นอกจากนี้ผู้สอนควรเข้าใจวิธีดุแลฟัน ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขได้พิมพ์เผยแพร่เพื่อแนะนาเด็กและผู้ปกครองเพื่อดูแลรักษาฟันให้ดีอยู่เสมอ เช่น การแปรงฟันได้แนะนาให้วางแปรงตั้งฉากกับตัวฟัน ถูแปลงไปมาสั้นๆในแนวนอนให้ทั่วถึงฟันทุกซี่ในปากทั้งด้านหน้าและด้านหลังควรแปรงฟันทุกครั้งหลังกินขนมหวานหรือหลังมื้ออาหาร
        ๕.๔ การรับวัคซีนป้องกันโรคขั้นพื้นฐานการให้ภูมิคุ้มกันโรคต่างๆ แก่เด็กเป็นสิ่งสำคัญและจาเป็น เพราะจะทำให้เด็กไม่เป็นโรคต่างๆ เช่น โรคตับอักเสบ โรคโปลิโอ บาดทะยัก ไอกรน และอื่นๆซึ่งอาจจะทาให้เด็กพิการหรือถึงแก่ชีวิตได้ กาหนดเวลาการให้ภูมิคุ้มกันโรคที่กระทรวงสาธารณสุขกาหนดไว้ในสมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็ก พ.ศ. ๒๕๔๕


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น