วันจันทร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

สาระการเรียนรู้


สาระการเรียนรู้ (P)

        สาระการเรียนรู้ของหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย สาหรับเด็กอายุ 3-5 ปี ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ประสบการณ์สาคัญและสาระที่ควรเรียนรู้ ซึ่งทั้งสองส่วนใช้เป็นสื่อในการจัดประสบการณ์ให้กับเด็ก เพื่อส่งเสริมพัฒนาการทุกด้านทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ –จิตใจ สังคม และสติปัญญา ซึ่งจำเป็นต่อการพัฒนาเด็กให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ โดยพ่อแม่ หรือผู้เลี้ยงดูเด็กควรผสมผสานการจัดประสบการณ์ สำหรับเด็กบูรณาการผ่านการเล่นที่ สอดคล้องกับปรัชญาการจัดการศึกษาปฐมวัย
สาระการเรียนรู้กาหนดเป็น 2 ส่วน ดังนี้

1. ประสบการณ์สำคัญ
ประสบการณ์สาคัญเป็นสิ่งจาเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเกิดขึ้นในตัวเด็ก เพื่อพัฒนาเด็กทางด้านร่างกาย อารมณ์ – จิตใจ สังคม และสติปัญญา โดยเฉพาะในระยะแรกเริ่มของชีวิตหรือช่วงระยะปฐมวัยมีความสาคัญเป็นพิเศษ เนื่องจากเป็นรากฐานของพัฒนาการก้าวต่อไปของชีวิตบุคคลแต่ละคน ตลอดเป็นปัจจัยสาคัญที่กาหนดความสามารถ แรงจูงใจ ใฝุเรียนรู้ ใฝุดี และความกระตือรือร้นในการพัฒนาตนเองของเด็ก ที่จะส่งผลต่อเนื่องจากช่วงวัยเด็กไปสู่วัยรุ่น และวัยผู้ใหญ่ ประสบการณ์สาคัญจะเกี่ยวข้องกับการจัดสภาพแวดล้อมทุกด้านที่กระตุ้นให้เด็กเกิดการเรียนรู้และมีความสามารถในการสร้างความสัมพันธ์กับสิ่งต่างๆรอบตัวในวิถีชีวิตของเด็กและในสังคมภายนอก อันจะสะสมเป็นทักษะพื้นฐานที่จาเป็นต่อการเรียนรู้และสามารถพัฒนา ต่อเนื่องไปสู่ระดับที่สูงขึ้นต่อไป
        ประสบการณ์สาคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการทางด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคม และสติปัญญา ประกอบด้วยการอบรมเลี้ยงดูของพ่อแม่หรือผู้เลี้ยงดูเด็กในการสนับสนุนให้เด็กได้มีประสบการณ์ด้วยการใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า การเคลื่อนไหวส่วนต่างๆของร่างกายการสร้างความรัก ความผูกพันธ์กับคนใกล้ชิดการปฏิสัมพันธ์กับผู้คนและสิ่งต่างๆรอบตัว และการรู้จักใช้ภาษา สื่อความหมาย ดังนั้น การฝึกทักษะต่างๆผ่านการปฏิบัติกิจวัตรประจาวันและการเล่น เพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้ จากการเลียนแบบลองผิด ลองถูก สารวจ ทดลอง และลงมือทาจริง การปฏิสัมพันธ์กับวัตถุสิ่งของ บุคคล และธรรมชาติรอบตัวเด็ก ตามบริบทของสภาพแวดล้อมจาเป็นต้องมีการจัดประสบการณ์สาคัญแบบองค์รวม ที่ยึดเด็กเป็นศูนย์กลาง ดังต่อไปนี้

1.1 ประสบการณ์สาคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกาย
เป็นการสนับสนุนให้เด็กได้มีโอกาส พัฒนาการใช้กล้ามเนื้อใหญ่ (กล้ามเนื้อแขน-ขา-ลาตัว) กล้ามเนื้อเล็ก (กล้ามเนื้อมือ-นิ้วมือ) และการประสานสัมพันธ์ระหว่างกล้ามเนื้อและระบบประสาท (กล้ามเนื้อมือ-ประสาทตา) ในการทากิจวัตรประจาวัน หรือทากิจกรรมต่างๆ เช่นการเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกายตามจังหวะดนตรี การเล่นเครื่องเล่นสัมผัส การเล่นออกกาลังกายกลางแจ้ง เป็นต้น
ประสบการณ์สาคัญที่ควรเสริม ประกอบด้วยการเคลื่อนไหวและการทรงตัว การประสานสัมพันธ์ของกล้ามเนื้อและระบบประสาท เด็กควรมีโอกาสเรียนรู้ผ่านกิจกรรมและการเล่นในสภาพแวดล้อมใกล้ตัว ได้รับประสบการณ์การใช้กล้ามเนื้อใหญ่ กล้ามเนื้อเล็ก และฝึกการประสานสัมพันธ์ระหว่างแขนกับขา มือกับปาก มือกับตาไปด้วยกัน

1.2 ประสบการณ์สาคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจ
เป็นการสนับสนุนให้เด็กได้แสดงออกทางอารมณ์และความรู้สึกที่เหมาะสมกับวัย มีความสุข ร่าเริง แจ่มใส ได้พัฒนาความรู้สึกที่ดีต่อตนเอง และความเชื่อมั่นในตนเอง ต่อการปฏิบัติกิจกรรมต่างๆในชีวิตประจาวัน เช่น การเล่นกับผู้คนหรือสิ่งของ การฟังนิทาน หรือคาคล้องจอง การร้องเพลง หรือแสดงท่าทางตามจังหวะเสียงเพลง เป็นต้น
ประสบการณ์สาคัญที่ควรส่งเสริม ประกอบด้วยการรับรู้อารมณ์ หรือความรู้สึกของตนเอง การแสดงอารมณ์ที่เป็นสุข การควบคุมอารมณ์และการแสดงออก พ่อแม่หรือผู้ดูแลเด็กเป็นบุคคลที่มีส่วนสาคัญอย่างยิ่งในการทาให้เด็กรู้สึกเป็นที่รัก อบอุ่น มั่นคง เกิดความรู้สึกปลอดภัยไว้วางใจ ซึ่งจะส่งผลให้เด็ก สร้างความรู้สึกที่ดีต่อตนเองและเรียนรู้ที่จะสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่น

1.3 ประสบการณ์สาคัญที่จะส่งเสริมพัฒนาการด้านสังคม
เป็นการสนับสนุนให้เด็กได้มีโอกาสปฏิสัมพันธ์กับบุคคลที่คุ้นเคยและสิ่งแวดล้อมต่างๆรอบตัวในชีวิตประจาวัน ในลักษณะของกิจกรรมกลุ่มต่างๆ เช่น เล่นอิสระกับเด็กอื่นเล่นรวมกลุ่มกับผู้อื่น แบ่งปันหรือให้ รู้จักรอคอย ใช้ภาษาบอกความต้องการ ช่วยเหลือตนเองในกิจวัตรประจาวันได้
ประสบการณ์สาคัญที่ควรส่งเสริม ประกอบด้วยการช่วยเหลือตนเอง การปรับตัวอยู่ในสังคม เด็กควรมีโอกาสได้เล่นรวมกลุ่มหรือทากิจกรรมร่วมกับผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นเด็กวัยเดียวกันหรือต่างวัย เพศเดียวกันหรือต่างเพศ หรือผู้ใหญ่อย่างสม่าเสมอ ตลอดจนฝึกให้ช่วยเหลือตนเองในกิจวัตรประจาวันตามวัยที่เด็กสามารถทำได้

1.4 ประสบการณ์ที่สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านสติปัญญา
เป็นการสนับสนุนให้เด็กได้รับรู้และเรียนรู้สิ่งต่างๆรอบตัวในชีวิตประจาวันผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้า และการเคลื่อนไหว ได้พัฒนาการใช้ภาษาสื่อความหมายและความคิด รู้จักสังเกต คุณลักษณะต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสี ขนาด รูปร่าง รูปทรง ผิวสัมผัส จดจาชื่อเรียกสิ่งต่างๆรอบตัว มีการฝึกการใช้อวัยวะรับสัมผัสต่างๆ ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น และผิวหนัง ในการแยกแยะสิ่งที่รับรู้ เกี่ยวกับความเหมือน ความแตกต่าง และมิติสัมพันธ์   

1.5 ประสบการณ์ที่สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านอัตลักษณ์
เป็นการสนับสนุนให้เด็กได้รับรู้และเรียนรู้สิ่งต่างๆรอบตัวในชีวิตประจาวัน โดยการส่งเสริมอัตลักษณ์ของโรงเรียน เก่งอ่าน จะส่งเสริมให้นักเรียนรู้จักเลือกอ่านหนังสือ ข่าวสาร สิ่งพิมพ์ต่างๆที่อยู่ใกล้ตัว เก่งคิด ส่งเสริมให้นักเรียนรู้จักการคิดแก้ปัญหาต่างๆ ด้วยตนเอง เก่งคณิตศาสตร์ ส่งเสริมให้นักเรียนมีทักษะในการคิดบวก ลบ เลขตั้งแต่ 1 หลัก ไปถึงเลข 2 หลัก
ประสบการณ์สาคัญที่ควรส่งเสริมประกอบด้วยการรู้จักเลือกอ่านหนังสือ ข่าวสาร สิ่งพิมพ์ต่างๆที่อยู่ใกล้ตัว รู้จักการคิดแก้ปัญหาต่างๆ ด้วยตนเอง และมีทักษะในการคิดบวก ลบ เลข

1.6 ประสบการณ์ที่สาคัญที่ส่งเสริมด้านเอกลักษณ์
เป็นการสนับสนุนให้เด็กได้รับรู้และเรียนรู้สิ่งต่างๆรอบตัว ผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้า รู้จักสังเกต จดจา และรักษาความสะอาด ความปลอดภัยของตนเองและผู้อื่นในกิจวัตรประจาวัน พร้อมกับให้ผู้ปกครองและชุมชนเข้ามาร่วมสนับสนุนกิจกรรมในรูปแบบต่างๆ
ประสบการณ์สาคัญที่ควรส่งเสริม ประกอบด้วยการส่งเสริมสุขภาพครอบคลุมทุกด้านอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่สะอาด ปลอดภัย เอื้อต่อการมีสุขภาพกายและใจที่ดี ปลูกฝังพฤติกรรมสุขภาพ การปูองกันและควบคุมโรคติดต่อ และเสริมสร้างการเรียนรู้ให้แก่ผู้ปกครองได้รับความรู้เกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพการปูองกันและควบคุมโรคติดต่อ

2. สาระที่ควรเรียนรู้
สาระที่จะให้เด็กอายุ 3-5 ปี เรียนรู้ควรเป็นเรื่องที่อยู่ใกล้ตัวเด็ก เป็นลาดับแรก แล้วจึงขยายไปถึงเรื่องที่อยู่ไกลตัวเด็กซึ่งข้อมูลที่เด็กเริ่มเรียนรู้มาจากการพูดคุยโต้ตอบชี้ชวนให้ดู สอน หรือพูดบอก โดยพ่อแม่หรือผู้เลี้ยงดูเด็ก ให้เด็กได้รู้จักชื่อเรียก และคุณสมบัติของสิ่งต่างๆใกล้ตัวเด็ก สาระที่ควรเรียนรู้มีดังนี้
2.1 เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก
เด็กควรจะได้รู้จักชื่อของตนเอง เริ่มต้นจากชื่อเล่น ได้รู้จักรูปร่าง หน้าตา และชื่อเรียกส่วนต่างๆ ของร่างกาย ตลอดจนได้สารวจความสามารถของตนเอง ในการทาสิ่งต่างๆได้ เช่น คลานได้ หยิบของได้ เป็นต้น
2.2 เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่แวดล้อมเด็ก
เด็กควรมีโอกาสรู้จักชื่อของพ่อแม่ พี่น้อง และบุคคลต่างๆในครอบครัว ตลอดจนมีโอกาสได้พบปะ พูดคุย ทาความรู้จักกับชื่อเรียกหรือสรรพนามแทนตัวของญาติ หรือผู้เลี้ยงดูเด็ก รวมทั้งมีปฏิสัมพันธ์กับ ผู้คนในครอบครัว ชุมชน และสังคม วัฒนธรรมที่อยู่ใกล้ตัวในชีวิตประจาวัน เช่น เล่นกับพี่น้องในบ้าน ไปตลาดกับแม่เป็นต้น
2.3 ธรรมชาติรอบตัว
เด็กควรจะได้รู้จักชื่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิต รอบตัว รวมทั้งมีการเชื่อมโยงลักษณะหรือคุณสมบัติอย่างง่ายๆของสิ่งต่างๆในธรรมชาติที่พบเห็นใน ชีวิตประจาวันจากการชี้แนะ หรือสารวจ
2.4 สิ่งต่างๆรอบตัวเด็ก
เด็กควรจะได้รู้จักชื่อของวัตถุสิ่งของ เครื่องใช้หรือของเล่นที่อยู่รอบตัว รวมทั้งมีการเชื่อมโยงลักษณะหรือคุณสมบัติอย่างง่ายๆ ของสิ่งต่างๆที่อยู่ใกล้ตัวเด็ก เช่น สี รูปร่าง ขนาด ผิวสัมผัส เป็นต้น
2.5 เก่งอ่าน เก่งคิด เก่งคณิตศาสตร์
เด็กควรมีโอกาสในการฝึกฝนการใช้ทักษะในการคิด วิเคราะห์ แก้ปัญหา เพื่อเชื่อมโยงไปสู่การดาเนินชีวิตประจาวัน
2.6 โรงเรียนปลอดโรค
เด็กควรได้รับการปลูกฝังพฤติกรรมสุขภาพ ทั้งด้านการดูแลสุขภาพของตนเองและดูแลความสะอาดของสิ่งแวดล้อม อันจะส่งผลให้มีพฤติกรรมสุขภาพที่ดี และผู้ปกครองเข้ามาส่วนร่วมในการสนับสนุนกิจกรรมในรูปแบบต่างๆ

การจัดประสบการณ์
การจัดประสบการณ์สาหรับเด็กอายุ 3-5 ปี เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้จากประสบการณ์ตรง เกิดความรู้ ทักษะ คุณธรรมจริยธรรม ได้พัฒนาทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา ซึ่งสามารถจัดในรูปของกิจกรรมบูรณาการผ่านการเล่นดังนี้

1. หลักการจัดประสบการณ์ ควรคำนึงถึงสิ่งสาคัญต่อไปนี้
1.1 ให้นักเรียนมีสุขภาพที่ดีและปลอดภัย
1.2 มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเด็กด้วยวาจาและท่าทีที่อบอุ่นเป็นมิตร
1.3 จัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้สอดคล้องกับธรรมชาติ ความต้องการและพัฒนาการของเด็ก
1.4 จัดสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย เอื้อต่อการเรียนรู้ตามวัยของเด็ก
1.5 ประเมินการเจริญเติบโตและพัฒนาการอย่างต่อเนื่องสม่าเสมอ
1.6 ประสานความร่วมมือระหว่างครอบครัว ชุมชน และสถานศึกษาในการพัฒนาเด็ก

2. แนวการจัดประสบการณ์
2.1 ดูแลสุขภาพอนามัยและตอบสนองความต้องการพื้นฐานทางร่างกายและจิตใจของเด็ก
2.2 สร้างบรรยากาศของความรัก ความอบอุ่น ความไว้วางใจ และความมั่นคงทางอารมณ์
2.3 จัดประสบการณ์ตรง ให้เด็กได้เลือก ลงมือกระทาและเรียนรู้จากประสาทสัมผัสทั้ง 5 และการเคลื่อนไหวผ่านการเล่น
2.4 เปิดโอกาสให้เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลที่แวดล้อมและสิ่งต่างๆรอบตัวเด็กอย่างหลากหลาย
2.5 จัดสถานที่ วัสดุอุปกรณ์ เครื่องใช้และของเล่นที่สะอาด ปลอดภัยเหมาะสมกับเด็ก
2.6 ใช้การสังเกตและติดตามการเจริญเติบโตและพัฒนาการอย่างต่อเนื่องสม่าเสมอ
2.7 ให้ครอบครัว ชุมชน และสถานศึกษามีส่วนร่วมในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับเด็ก

3. การจัดกิจกรรมประจำวัน
กิจกรรมสาหรับเด็กอายุ 3-5 ปี มีความสาคัญอย่างยิ่งต่อการวางรากฐานการเรียนรู้และ
พัฒนาทักษะพื้นฐานของเด็กทั้งทางร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา การจัดกิจกรรมควรจัดให้สอดคล้องกับความต้องการ ความสนใจ และความสามารถของเด็กตามวัย โดยบูรณาการกิจกรรมการเรียนรู้ผ่านการอบรมเลี้ยงดูตามวิถีชีวิตประจาวันและการเล่นของเด็กตามธรรมชาติที่เหมาะสมกับวัย ดังนี้
3.1 การฝึกสุขนิสัยและลักษณะนิสัยที่ดี เป็นกิจกรรมที่สร้างเสริมสุขนิสัยที่ดีในเรื่องการรับประทานอาหาร การนอน การทาความสะอาดร่างกาย การขับถ่าย ตลอดจนปลูกฝังลักษณะนิสัยที่ดีในการดูแลสุขภาพอนามัยและการแสดงมารยาทที่สุภาพ นุ่มนวลแบบไทย
3.2 การใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 เป็นกิจกรรมที่ช่วยกระตุ้นการรับรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5ในการมองเห็น การได้ยินเสียง การลิ้มรส การได้กลิ่น และการสัมผัสจับต้องสิ่งต่างๆที่แตกต่างกันในด้านขนาด รูปร่าง ความยาว สี น้าหนัก และผิวสัมผัส เช่น การเล่นมองตนเองกับกระจกเงา การเล่นของเล่นที่มีพื้นผิวแตกต่างกัน เป็นต้น
3.3 การฝึกการประสานสัมผัสระหว่างมือ – ตา เป็นกิจกรรมที่ฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อมือ นิ้วมือให้พร้อมที่จะหยิบจับ ฝึกการทางานอย่างสัมพันธ์กันระหว่างมือและตา รวมทั้งฝึกให้เด็กรู้จักการคาดคะเน หรือกะระยะทางของสิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัวเทียบกับตัวเองในลักษณะใกล้กับไกล เช่น มองโมบายที่มีสีและเสียง ร้อยลูกปัด เล่นพลาสติกสร้างสรรค์ เล่นหยอดบล็อกรูปทรงลงกล่อง ตอกหมุด โยนรับลูกบอล ตักน้าหรือทรายใส่ภาชนะ เป็นต้น
3.4 การเคลื่อนไหวและการทรงตัว เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมการใช้กล้ามเนื้อแขนกับขา มือกับนิ้วมือ และส่วนต่างๆ ของร่างกายในการเคลื่อนไหวหรือออกกาลังกายทุกส่วน โดยการจัดให้เด็กเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อใหญ่ – เล็ก ตามความสามารถของวัย เช่น คว่า คลาน ยืน เดิน เล่นนิ้วมือ เคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกายตามเสียงดนตรี วิ่งไล่จับ ปีนปุายเครื่องเล่นสนาม เล่นชิงช้า ม้าโยก ลากจูงของเล่นมีล้อ ขี่จักรยานสามล้อ เป็นต้น
3.5 การส่งเสริมด้านอารมณ์และจิตใจเป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมการเลี้ยงดูในการตอบสนองความต้องการของเด็กด้านจิตใจ โดยการจัดสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมให้เด็กเกิดความรู้สึกอบอุ่นและมีความสุข เช่น อุ้ม โอบกอด ตอบสนองต่อความรู้สึกที่เด็กแสดงออก เป็นต้น
3.6 การส่งเสริมทักษะทางสังคม เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมการสร้างความสัมพันธ์กับพ่อแม่ ผู้เลี้ยงดู และบุคคลใกล้ชิด โดยการพูดคุยหยอกล้อหรือเล่นกับเด็กหรือพาเด็กไปเดินเล่นนอกบ้าน พบปะเด็กอื่นหรือผู้ใหญ่ เช่น เล่นจ๊ะเอ๋ พาไปบ้านญาติ เป็นต้น
3.7 การส่งเสริมทักษะทางภาษา เป็นกิจกรรมที่ฝึกให้เด็กได้เปล่งเสียง เลียนเสียงพูดของผู้คน เสียงสัตว์ต่างๆ รู้จักชื่อเรียกของตนเอง ชื่อพ่อแม่หรือผู้คนใกล้ชิดและชื่อสิ่งต่างๆรอบตัว ตลอดจนรู้จักสื่อความหมายด้วยคาพูดและท่าทาง เช่น ชี้ชวนและสอนให้รู้จักชื่อเรียกสิ่งต่างๆจากของจริง เล่านิทานหรือร้องเพลงง่ายๆให้ฟัง เป็นต้น

การจัดกิจกรรมประจำวัน
3.1 หลักการจัดกิจกรรมประจำวัน
กำหนดระยะเวลาในการจัดกิจกรรมแต่ละกิจกรรมให้เหมาะสมกับวัยของเด็กในแต่ละ
วันและยืดหยุ่นได้ตามความต้องการและความสนใจของเด็ก เช่น เด็ก ๔ - ๕ ขวบ มีความสนใจอยู่ได้ประมาณ ๑๒ - ๑๕ นาที
กิจกรรมที่ต้องใช้ความคิด ทั้งในกลุ่มเล็กและกลุ่มใหญ่ ไม่ควรใช้เวลาต่อเนื่องนาน
เกินกว่า ๒๐ นาที
กิจกรรมที่เด็กมีอิสระเลือกเล่นเสรี เช่น การเล่นตามมุม การเล่นกลางแจ้ง ใช้เวลา
ประมาณ ๔๐ - ๖๐ นาที
กิจกรรมควรมีความสมดุลระหว่างกิจกรรมในห้องเรียนและนอกห้องเรียน กิจกรรม
ที่ใช้กล้ามเนื้อใหญ่และกล้ามเนื้อเล็ก กิจกรรมที่เป็นรายบุคคล กลุ่มย่อย และกลุ่มใหญ่กิจกรรมที่เด็กเป็นผู้ริเริ่มและผู้สอนเป็นผู้ริเริ่ม กิจกรรมที่ใช้กาลังและไม่ใช้กาลัง จัดให้ครบทุกประเภท ทั้งนี้กิจกรรมที่ต้องออกกาลังกาย ควรจัดสลับกับกิจกรรมที่ไม่ต้องออกกาลังมากนัก เพื่อเด็กจะได้ไม่เหนื่อยเกินไป
3.2 ขอบข่ายของกิจกรรมประจาวัน การเลือกจัดกิจกรรมในแต่ละวันต้องให้ครอบคลุมสิ่งต่อไปนี้
๓.๒.๑ การพัฒนากล้ามเนื้อใหญ่ เพื่อให้เด็กได้พัฒนาความแข็งแรงของกล้ามเนื้อใหญ่ การ
เคลื่อนไหว และความคล่องแคล่วในการใช้อวัยวะต่าง ๆ จึงควรจัดกิจกรรมโดยให้เด็กได้เล่นอิสระกลางแจ้ง เล่นเครื่องเล่นสนาม เคลื่อนไหวร่างกายตามจังหวะดนตรี
๓.๒.๒ การพัฒนากล้ามเนื้อเล็กเพื่อให้เด็กได้พัฒนาความแข็งแรงของกล้ามเนื้อเล็ก การประสานสัมพันธ์ระหว่างมือและตา จึงควรจัดกิจกรรมโดยให้เด็กได้เล่นเครื่องเล่นสัมผัส เล่นเกมต่อภาพ ฝึกช่วยเหลือตนเองในการแต่งกาย หยิบจับช้อนส้อม ใช้อุปกรณ์ศิลปะ เช่น สีเทียน กรรไกร พู่กัน ดินเหนียว ฯลฯ
๓.๒.๓ การพัฒนาอารมณ์ จิตใจ และปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมเพื่อให้เด็กมีความรู้สึกที่ดีต่อตนเองและผู้อื่น มีความเชื่อมั่น กล้าแสดงออก มีวินัยในตนเอง รับผิดชอบ ซื่อสัตย์ประหยัด มีความเมตตากรุณา เอื้อเฟื้อ แบ่งปัน มีมารยาทและการปฏิบัติตนตามวัฒนธรรมไทยและศาสนาที่นับถือ จึงควรจัดกิจกรรมต่าง ๆ ผ่านการเล่น ให้เด็กได้ตัดสินใจเลือก ได้รับการตอบสนองความต้องการ ได้ฝึกปฏิบัติโดยสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม ตลอดเวลาที่โอกาสเอื้ออานวย
๓.๒.๔ การพัฒนาสังคมนิสัยเพื่อให้เด็กมีลักษณะนิสัยที่ดี แสดงออกอย่างเหมาะสม และ
อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข ช่วยเหลือตนเองในการทากิจวัตรประจาวัน มีนิสัยรักการทางาน รู้จักระมัดระวังความปลอดภัยของตนเองและผู้อื่น จึงควรจัดให้เด็กได้ปฏิบัติกิจวัตรประจาวันอย่างสม่าเสมอ เช่น รับประทานอาหาร พักผ่อนนอนหลับขับถ่าย ทาความสะอาดร่างกาย เล่นและทางานร่วมกับผู้อื่น
๓.๒.๕ การพัฒนาการคิดเพื่อให้เด็กได้พัฒนาความคิดรวบยอด สังเกต จาแนก เปรียบเทียบ
จัดหมวดหมู่ เรียงลาดับเหตุการณ์ แก้ปัญหา จึงควรจัดกิจกรรมให้เด็กได้สนทนาอภิปราย แลกเปลี่ยนความคิดเห็น เชิญวิทยากรมาพูดคุยกับเด็ก ค้นคว้าจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ทดลอง ศึกษานอกสถานที่ ประกอบอาหาร หรือจัดให้เด็กได้เล่นเกมการศึกษาที่เหมาะสมกับวัยอย่างหลากหลาย ฝึกการแก้ปัญหาในชีวิตประจาวันและในการทากิจกรรมทั้งที่เป็นรายบุคคลและรายกลุ่ม
๓.๒.๖ การพัฒนาภาษาเพื่อให้เด็กได้มีโอกาสใช้ภาษาสื่อสาร ถ่ายทอดความรู้ ความนึกคิด
ความรู้ความเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ ที่เด็กมีประสบการณ์ จึงควรจัดกิจกรรมทางภาษาให้มีความหลากหลายในสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ มุ่งปลูกฝังให้เด็กรักการอ่านและบุคลากรที่แวดล้อมต้องเป็นแบบอย่างที่ดีในการใช้ภาษา ทั้งนี้ต้องคานึงถึงหลักการจัดกิจกรรมทางภาษาที่เหมาะสมกับเด็กเป็นสาคัญ
๓.๒.๗ การส่งเสริมจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์เพื่อให้เด็กได้พัฒนาความคิดริเริ่ม
สร้างสรรค์ ได้ถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึก และความเห็นความสวยงามของสิ่งต่าง ๆ รอบตัว โดยใช้กิจกรรมศิลปะและดนตรีเป็นสื่อ ใช้การเคลื่อนไหวและจังหวะตามจินตนาการ ให้ประดิษฐ์สิ่งต่าง ๆ อย่างอิสระตามความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ของเด็กเล่นบทบาทสมมุติในมุมเล่นต่าง ๆ เล่นน้า เล่นทราย เล่นก่อสร้าง
๓.๓ รูปแบบการจัดกิจกรรมประจาวันการจัดตารางกิจกรรมประจาวัน สามารถจัดได้หลายรูปแบบทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมในการนาไปใช้ของแต่ละสถานศึกษาและชุมชน
๓.๓.๑ กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะการเคลื่อนไหวและจังหวะ เป็นกิจกรรมที่จัดให้เด็กได้เคลื่อนไหวส่วนต่าง ๆ ของร่างกายอย่างอิสระตามจังหวะ โดยใช้เสียงเพลง คำคล้องจอง มาประกอบการ เคลื่อนไหว เพื่อส่งเสริมให้เด็กเกิดจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ เด็กวัยนี้ร่างกายกาลังอยู่ในระหว่างพัฒนาการใช้ส่วนต่าง ๆ ของร่างกายยังไม่ผสมผสานหรือประสานสัมพันธ์กันอย่างสมบูรณ์ การเคลื่อนไหวของเด็ก
๓.๓.๒ กิจกรรมสร้างสรรค์/กิจกรรมเสรีกิจกรรมสร้างสรรค์ เป็นกิจกรรมที่ช่วยเด็กให้แสดงออกทางอารมณ์ ความรู้สึก ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และจินตนาการ โดยใช้ศิลปะ เช่น การเขียนภาพ การปั้น การฉีกปะการตัดปะ การพิมพ์ภาพ การร้อย การประดิษฐ์ หรือวิธีการอื่นที่เด็กได้คิดสร้างสรรค์ กิจกรรมสร้างสรรค์ควรจัดให้เด็กทาทุกวัน โดยอาจจัดวันละ ๒ - ๓ กิจกรรม ให้เด็กเลือกทาอย่างน้อย ๑ -๒ กิจกรรม ตามความสนใจกิจกรรมเสรีหรือการเล่นตามมุม เป็นกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้เด็กเล่นอิสระตามมุมเล่นหรือมุมประสบการณ์ที่จัดไว้ในห้องเรียน เช่น มุมบล็อก มุมหนังสือ มุมวิทยาศาสตร์ มุมบ้าน มุมร้านค้า เป็นต้น มุมต่าง ๆ เหล่านี้เด็กมีโอกาสเลือกเล่นไดอย่างเสรีตามความสนใจและความต้องการของเด็ก อาจให้เด็กเลือกทำกิจกรรมที่ผู้สอนจัดเสริมขึ้น เช่น เกมการศึกษา เครื่องเล่นสัมผัส กิจกรรมสร้างสรรค์ประเภทต่าง ๆ
๓.๓.๓ กิจกรรมกลางแจ้งกิจกรรมกลางแจ้ง เป็นกิจกรรมที่จัดให้เด็กได้มีโอกาสออกไปนอกห้องเรียนเพื่อออกกาลังเคลื่อนไหวร่างกายและแสดงออกอย่างอิสระ โดยยึดความสนใจและความสามารถของเด็กแต่ละคนเป็นหลัก กิจกรรมกลางแจ้งที่ผู้สอนควรจัดให้เด็กได้เล่น เช่น

การเล่นเครื่องสนาม
เครื่องเล่นสนาม หมายถึง เครื่องเล่นที่เด็กอาจปีนปาย หมุน โยก ซึ่งทาออกมาในรูปแบบต่างๆ เช่น
๑. เครื่องเล่นสาหรับปีนปุาย หรือตาข่ายสาหรับปีนเล่น
๒. เครื่องเล่นสาหรับโยกหรือไกว เช่น ม้าไม้ ชิงช้า ม้านั่งโยก ไม้กระดก ฯลฯ
๓. เครื่องเล่นสาหรับหมุน เช่น ม้าหมุน พวงมาลัยรถสาหรับหมุนเล่น
๔. ราวโหนขนาดเล็กสาหรับเด็ก
๕. ต้นไม้สาหรับเดินทรงตัว หรือ ไม้กระดานแผ่นเดียว
๖. เครื่องเล่นประเภทล้อเลื่อน เช่น รถสามล้อ รถลากจูง ฯลฯ

การเล่นทราย
ทรายเป็นสิ่งที่เด็กๆชอบเล่น ทั้งทรายแห้ง ทรายเปียก นามาก่อเป็นรูปต่างๆได้ และสามารถนาวัสดุอื่นมาประกอบการเล่นตกแต่งได้ เช่น กิ่งไม้ ดอกไม้ เปลือกหอย พิมพ์ขนม ที่ตักทราย ฯลฯ
ปกติบ่อทรายจะอยู่กลางแจ้ง โดยอาจจัดให้อยู่ใต้ร่มเงาใต้ต้นไม้หรือสร้างหลังคา ทาขอบกั้น เพื่อมิให้ทรายกระจัดกระจาย บางโอกาสพรมน้าให้ชื้นเพื่อเด็กจะได้ก่อเล่น นอกจากนี้ ควรมีวิธีการปิดกั้นมิให้สัตว์เลี้ยงลงไปทาความสกปรกในบ่อทรายได้

การเล่นน้ำ
เด็กทั่วไปชอบเล่นน้ำมาก การเล่นน้ำนอกจากสร้างความพอใจและคลายความเครียดให้เด็กแล้วยังทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้อีกด้วย เช่น เรียนรู้ทักษะการสังเกต จำแนกเปรียบเทียบปริมาตร ฯลฯอุปกรณ์ที่ใส่น้าอาจเป็นถังที่สร้างขึ้นโดยเฉพาะหรืออ่างน้า วางบนขาตั้งที่มั่นคง ความสูงพอดีที่เด็กจะยืนได้พอดี และควรมีผ้าพลาสติกกันเสื้อผ้าเปียกให้เด็กใช้คลุมระหว่างเล่น

การเล่นสมมุติในบ้านตุ๊กตาหรือบ้านจำลอง
เป็นบ้านจำลองสาหรับให้เด็กเล่น จำลองแบบบ้านจริงๆ อาจทำด้วยเศษวัสดุประเภทผ้าใบ กระสอบป่าน ของจริงที่ไม่ใช้แล้ว เข่น หม้อ เตา ชาม อ่าง เตารีด เครื่องครัว ตุ๊กตาสมมุติเป็นบุคคลในครอบครัว เสื้อผ้าผู้ใหญ่ที่ไม่ใช้แล้วสาหรับผลัดเปลี่ยน มีการตกแต่งบริเวณใกล้เคียงให้เหมือนบ้านจริงๆ บางครั้งอาจจัดเป็นร้านขายของ สถานที่ทาการต่างๆเพื่อให้เด็กเล่นสมมุติตามจินตนาการของเด็กเอง

การเล่นในมุมช่างไม้
เด็กต้องการการออกกำลังในการเคาะ ตอก กิจกรรมการเล่นในมุมช่างไม้นี้ จะช่วยในการพัฒนากล้ามเนื้อให้แข็งแรง ช่วยฝึกการใช้มือและการประสานสัมพันธ์ระหว่างมือกับตา นอกจากนี้ยังฝึกให้รักงานและส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์อีกด้วย

การเล่นกับอุปกรณ์กีฬา
เป็นการนำอุปกรณ์กีฬามาให้เด็กเล่นอย่างอิสระหรือใช้ประกอบเกมการเล่นที่ให้อิสระแก่เด็กมากที่สุด ไม่ควรเน้นการแข็งขันเพื่อมุ่งหวัง แพ้ – ชนะ อุปกรณ์กีฬาที่นิยมนามาให้เด็กเล่น เช่น ลูกบอล ห่วงยาง ถุงทราย ฯลฯ

การเล่นเกมการละเล่น
กิจกรรมการเล่นเกมการละเล่นที่จัดให้เด็กเล่น เช่น เกมการละเล่นของไทย เกมการละเล่นของ ท้องถิ่น เช่น มอญซ่อนผ้า รีรีข้าวสาร แม่งู โพงพาง ฯลฯ การละเล่นเหล่านี้ต้องใช้บริเวณที่กว้าง การเล่นอาจเป็นกลุ่มเล็ก / กลุ่มใหญ่ ก็ได้ ก่อนเล่นผู้สอนอธิบายกติกาและสาธิตให้เด็กเข้าใจ ไม่ควรนาเกมการเล่นที่มีกติกายุ่งยากและเน้นการแข่งขันแพ้ชนะมาจัดกิจกรรมให้กับเด็กวัยนี้ เพราะเด็กจะเกิดความเครียดและสร้างความรู้สึกที่ไม่ดีต่อตนเอง

๓.๓.๔ เกมการศึกษา
เกมการศึกษาเป็นเกมที่ช่วยพัฒนาสติปัญญา มีกฎเกณฑ์กติกาง่ายๆ เด็กสามารถเล่นคนเดียวหรือเล่นเป็นกลุ่มได้ ช่วยให้เด็กรู้จักสังเกต คิดหาเหตุผลและเกิดความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสีรูปร่าง จานวน ประเภทและความสัมพันธ์เกี่ยวกับพื้นที่ ระยะ เกมการศึกษาที่เหมาะสมสาหรับเด็กวัย 3 – 5 ปี เช่น เกมจับคู่ แยกประเภท จัดหมวดหมู่ เรียงลาดับ โดมิโน ลอตโต ภาพตัดต่อ ต่อตามแบบ ฯลฯ

การใช้สื่อและแหล่งการเรียนรู้
สื่อ เป็นตัวกลางในการถ่ายทอดเรื่องราวเนื้อหาจากผู้ส่งไปยังผู้รับในการเรียนสอน สื่อเป็นตัวกลางนาความรู้จากผู้สอนสู่เด็ก ทาให้เด็กเกิดการเรียนรู้ตามจุดประสงค์ที่วางไว้ ช่วยให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรง ทาให้สิ่งที่เป็นนามธรรมเข้าใจยากกลายเป็นรูปธรรมที่เด็กเข้าใจง่าย เรียนรู้ได้ง่าย รวดเร็วเพลิดเพลิน เกิดการเรียนรู้และค้นพบด้วยตัวเอง

สื่อประกอบการจัดกิจกรรม
สื่อประกอบการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัยทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา ควรมีสื่อทั้งที่เป็นประเภท ๒ มิติ และ/หรือ ๓ มิติ ทั้งที่เป็นสื่อของจริง สื่อธรรมชาติ สื่อที่อยู่ใกล้ตัวเด็ก สื่อที่สะท้อนวัฒนธรรม สื่อที่ปลอดภัยต่อตัวเด็ก สื่อเพื่อพัฒนาเด็กในด้านต่างๆ ให้ครบทุกด้าน สื่อที่เอื้อให้เด็กเรียนรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้า โดยการจัดการใช้สื่อเริ่มต้นจาก สื่อของจริง ภาพถ่าย ภาพโครงร่าง และสัญลักษณ์ทั้งนี้การใช้สื่อต้องเหมาะสมกับวัย วุฒิภาวะ ความแตกต่างระหว่างบุคคล ความสนใจและความต้องการของเด็กที่หลากหลาย ตัวอย่างสื่อประกอบการจัดกิจกรรม มีดังนี้

กิจกรรมเสรี / เล่นตามมุม
๑. มุมบทบาทสมมุติอาจจัดเป็นมุมเล่น ดังนี้
๑.๑ มุมบ้าน
- ของเล่นเครื่องใช้ในครัวขนาดเล็ก หรือของจาลอง เช่น เตา กระทะ ครก กาน้า เขียง มีดพลาสติก หม้อ จาน ช้อน ถ้วยชาม กะละมัง
- เครื่องเล่นตุ๊กตา เสื้อผ้าตุ๊กตา เตียง เปลเด็ก ตุ๊กตา
- เครื่องแต่งบ้านจาลอง เช่น ชุดรับแขก โต๊ะเครื่องแปูง หมอนอิง กระจกขนาดเห็นเต็มตัว หวี ตลับแปูง
- เครื่องแต่งกายบุคคลอาชีพต่างๆที่ใช้แล้ว เช่น ชุดเครื่องแบบทหาร ตารวจ ชุดเสื้อผ้าผู้ใหญ่ชายและหญิง รองเท้า กระเป๋าถือที่ไม่ใช้แล้ว
- โทรศัพท์ เตารีดจาลอง ที่รีดผ้าจาลอง
- ภาพถ่ายและรายการอาหาร
๑.๒ มุมหมอ
- เครื่องเล่นจาลองแบบเครื่องมือแพทย์และอุปกรณ์การรักษาผู้ปุวย เช่น หูฟัง เสื้อคลุมหมอ
- อุปกรณ์สาหรับเลียนแบบการบันทึกข้อมูลผู้ปุวย เช่น กระดาษ ดินสอ ฯลฯ
๑.๓ มุมร้านค้า
- กล่องและขวดผลิตภัณฑ์ต่างๆที่ใช้แล้ว
- อุปกรณ์ประกอบการเล่น เช่น เครื่องคิดเลข ลูกคิด ธนบัตรจาลอง ฯลฯ
๑.๔ มุมบล็อก
- ไม้บล็อกหรือแท่งไม้ที่มีขนาดแลรูปร่างต่างๆ กัน จานวนตั้งแต่๕๐ ชิ้นขึ้นไป
- ของเล่นจาลอง เช่น รถยนต์ เครื่องบิน รถไฟ คน สัตว์ ต้นไม้ ฯลฯ
- ภาพถ่ายต่างๆ
- ที่จัดเก็บไม้บล็อกหรือแท่งไม้อาจเป็นชั้น ลังไม้หรือพลาสติก แยกตามรูปทรง ขนาด
๑.๕ มุมหนังสือ
- หนังสือภาพนิทาน สมุดภาพ หนังสือภาพที่มีคาและประโยคสั้นๆพร้อมภาพ
- ชั้นหรือที่วางหนังสือ
- อุปกรณ์ต่างๆที่ใช้ในการสร้างบรรยากาศการอ่าน เช่น เสื่อ พรม หมอน
- สมุดเซ็นยืมหนังสือกลับบ้าน
- อุปกรณ์สาหรับการเขียน
- อุปกรณ์เสริม เช่น เครื่องเล่นเทป ตลับเทปนิทานพร้อมหนังสือนิทาน หูฟัง
๑.๖ มุมวิทยาศาสตร์ หรือ มุมธรรมชาติศึกษา
- วัสดุต่างๆจากธรรมชาติ เช่น เมล็ดพืชต่างๆ เปลือกหอย ดิน หิน แร่ ฯลฯ
- เครื่องมือเครื่องใช้ในการสารวจ สังเกต ทดลอง เช่น แว่นขยาย แม่เหล็ก เข็มทิศ เครื่องชั่ง ฯลฯ

กิจกรรมสร้างสรรค์ควรมีวัสดุอุปกรณ์ ดังนี้
๑. การวาดภาพและระบายสี
- สีเทียนแท่งใหญ่ สีไม้ สีชอล์ก สีน้า
- พู่กันขนาดใหญ่ ( ประมาณเบอร์ ๑๒ )
- กระดาษ
- เสื้อคลุมหรือผ้ากันเปื้อน
๒. การเล่นกับสี
- การเปุาสี มี กระดาษ หลอดกาแฟ สีน้า
- การหยดสี มี กระดาษ หลอดกาแฟ พู่กัน สีน้า
- การพับสี มี กระดาษ สีน้า พู่กัน
- การเทสี มี กระดาษ สีน้า
- การละเลงสี มี กนระดาษ สีน้า แปูงเปียก
๓. การพิมพ์ภาพ
- แม่พิมพ์ต่างๆ จากของจริง เช่น นิ้วมือ ใบไม้ ก้านกล้วย ฯลฯ
- แม่พิมพ์จากวัสดุอื่นๆ เช่น เชือก เส้นด้าย ตรายาง ฯลฯ
- กระดาษ ผ้าเช็ดมือ สีโปสเตอร์ ( สีน้า สีฝุุน ฯลฯ )
๔. การปั้นเช่น ดินน้ามัน ดินเหนียว แปูงโดว์ แผ่นรองปั้น แม่พิมพ์รูปต่างๆ ไม้นวดแปูง ฯลฯ
๕. การพับฉีก ตัดปะ เช่น กระดาษ หรือวัสดุอื่นๆ ที่จะใช้พับ ฉีก ตัด ปะ กรรไกรขนาดเล็กปลายมน กาวน้าหรือแปูงเปียก ผ้าเช็ดมือ ฯลฯ
๖. การประดิษฐ์เศษวัสดุเช่น เศษวัสดุต่างๆ มีกล่องกระดาษ แกนกระดาษ เศษผ้า เศษไม้ กาว กรรไกร สี ผ้าเช็ดมือ ฯลฯ
๗. การร้อยเชน ลูกปัดหลอดกาแฟ หลอดด้าย ฯลฯ
๘. การสานเช่น กระดาษ ใบตอง ใบมะพร้าว ฯลฯ
๙. การเล่นพลาสติกสร้างสรรค์พลาสติกชิ้นเล็กๆ รูปทรงต่างๆ ผู้เล่นสามารถนามาต่อเป็นรูปแบบต่างๆ ตามความต้องการ
๑๐. การสร้างรูปเช่น จากกระดานปักหมุด จากแปูนตะปูที่ใช้หนังยางหรือเชือกผูกดึง ให้เป็นรูปร่างต่างๆ

เกมการศึกษา ตัวอย่างสื่อประเภทเกมการศึกษา มีดังนี้
๑. เกมจับคู่
- จับคู่รูปร่างที่เหมือนกัน
- จับคู่ภาพเงา
- จับคู่ภาพที่ซ่อนอยู่ในภาพหลัก
- จับคู่สิ่งที่มีความสัมพันธ์กัน สิ่งที่ใช้คู่กัน
- จับคู่ภาพส่วนเต็มกับส่วนย่อย
- จับคู่ภาพกับโครงร่าง
- จับคู่ภาพชิ้นส่วนที่หายไป
- จับคู่ภาพที่เป็นประเภทเดียวกัน
- จับคู่ภาพที่ซ้อนกัน
- จับคู่ภาพสัมพันธ์แบบตรงกันข้าม
- จับคู่ภาพสมมาตรกัน
- จับคู่แบบอุปมาอุปไมย
- จับคู่แบบอนุกรม
๒. เกมภาพตัดต่อ
- ภาพตัดต่อที่สัมพันธ์กับหน่วยการเรียนต่างๆ เช่น ผลไม้ ผัก ฯลฯ
๓. เกมจัดหมวดหมู่
- ภาพสิ่งต่างๆที่นามาจัดเป็นพวกๆ
- ภาพเกี่ยวกับประเภทของใช้ในชีวิตประจาวัน
๔. เกมวางภาพต่อปลาย ( โดมิโน )
- โดมิโนภาพเหมือน
- โดมิโนภาพสัมพันธ์
๕. เกมเรียงลาดับ
- เรียงลาดับภาพเหตุการณ์ต่อเนื่อง
- เรียงลาดับขนาด
๖. เกมศึกษารายละเอียดของภาพ ( ลอตโต )
๗. เกมจับคู่แบบตารางสัมพันธ์ ( เมตริกเกม )
๘. เกมพื้นฐานบวก

กิจกรรมเสริมประสบการณ์ / กิจกรรมในวงกลมตัวอย่างสื่อ มีดังนี้
๑. สื่อของจริงที่อยู่ใกล้ตัวและสื่อจากธรรมชาติหรือวัสดุท้องถิ่น เช่น ต้นไม้ ใบไม้ เปลือกหอย เสื้อผ้า ฯลฯ
๒. สื่อที่จาลองขึ้น เช่น ลูกโลก ตุ๊กตาสัตว์ ฯลฯ
๓. สื่อประเภทภาพ เช่น ภาพพลิก ภาพโปสเตอร์ หนังสือภาพ ฯลฯ
๔. สื่อเทคโนโลยี เช่น วิทยุ เครื่องบันทึกเสียง เครื่องขยายเสียง โทรศัพท์ ฯลฯ

กิจกรรมกลางแจ้งตัวอย่างสื่อ มีดังนี้
๑. เครื่องเล่นสนาม เช่น เครื่องเล่นสาหรับปีนปุาย เครื่องเล่นประเภทล้อเลื่อน ฯลฯ
๒. ที่เล่นทาย มีทรายละเอียด เครื่องเล่นทราย เครื่องตวง ฯลฯ
๓. ที่เล่นน้า เสื้อคลุมหรือผ้ากันเปื้อนพลาสติก อุปกรณ์เล่นน้า เช่น ถ้วยตวง ขวดต่างๆ สายยาง กรวยกรอกน้า ตุ๊กตายาง ฯลฯ
กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะตัวอย่างสื่อ มีดังนี้
๑. เครื่องเคาะจังหวะ เช่น ฉิ่ง เหล็กสามเหลี่ยม กรับ รามะนา กลอง ฯลฯ
๒. อุปกรณ์ประกอบการเคลื่อนไหว เช่น หนังสือพิมพ์ ริบบิ้น แถผา ห่วง หวาย ถุงทราย ฯลฯ

การเลือกสื่อมีวิธีการเลือกสื่อ ดังนี้
๑. เลือกให้ตรงกับจุดมุ่งหมายและเรื่องที่สอน
๒. เลือกให้เหมาะสมกับวัยและความสามารถของเด็ก
๓. เลือกให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของท้องถิ่นที่เด็กอยู่หรือสถานภาพของสถานศึกษา
๔. มีวิธีการใช้ง่าย และนาไปใช้ได้หลายกิจกรรม
๕. มีความถูกต้องตามเนื้อหาและทันสมัย
๖. มีคุณภาพดี เช่น ภาพชัดเจน ขนาดเหมาะสม ไม่ใช้สีสะท้อนแสง
๗. เลือกสื่อที่เด็กเข้าใจง่ายในเวลาสั้น ๆ ไม่ซับซ้อน
๘. เลือกสื่อที่สามารถสัมผัสได้
๙. เลือกสื่อเพื่อใช้ฝึก และส่งเสริมการคิดเป็น ทาเป็น และกล้าแสดงความคิดเห็นด้วยความมั่นใจ

การจัดหาสื่อสามารถจัดหาได้หลายวิธี คือ
๑. จัดหาโดยการขอยืมจากแหล่งต่างๆเช่นศูนย์สื่อของสถานศึกษาของรัฐบาล หรือสถานศึกษาเอกชน ฯลฯ
๒. จัดซื้อสื่อและเครื่องเล่นโดยวางแผนการจัดซื้อตามลาดับความจาเป็นเพื่อให้สอดคล้องกับงบประมาณที่ทางสถานศึกษาสามารถจัดสรรให้และสอดคล้องกับการจัดประสบการณ์
๓. ผลิตสื่อและเครื่องเล่นขึ้นใช้เองโดยใช้วัสดุที่ปลอดภัยและหาง่ายเป็นเศษวัสดุเหลือใช้ที่มีอยู่ในท้องถิ่นนั้นๆ เช่น กระดาษแข็งจากลังกระดาษ รูปภาพจากแผ่นปูายโฆษณา รูปภาพจากหนังสือนิตยสารต่างๆ เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น