วันพฤหัสบดีที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

รูปแบบการประเมินหลักสูตรของสเตค




รูปแบบการประเมินหลักสูตรของสเตค (The Stake’s Congruence Coontingeny Model)
Robert E Stake

          เป็นรูปแบบการประเมินหลักสูตรที่เน้นการประเมินที่ยึดเกณฑ์เป็นหลัก สเตคได้ให้ความหมายของการประเมินหลักสูตรว่า เป็นการบรรยายและตัดสินคุณค่าของหลักสูตร เน้นเรื่องของการบรรยายสิ่งที่ถูกประเมิน โดยอาศัยผู้เชี่ยวชาญในการตัดสินคุณค่า สเตคได้เสนอว่าควรมีการพิจารณาข้อมูลเพื่อประเมินหลักสูตร 3 ด้าน คือ
 1.ด้านสิ่งที่มาก่อน หรือสภาพก่อนเริ่มโครงการ
 2.ด้านกระบวนการในการเรียน
 3.ด้านผลผลิต หรือผลที่ได้รับจากโครงการ
ตาราง วิเคราะห์หลักสูตรของเสตค
ขั้นตอนในการประเมินหลักสูตรของสเตค
        1.การตั้งเกณฑ์ในการวิเคราะห์ข้อมูล
        2.การหาข้อมูลประกอบ แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ
                2.1 ส่วนที่เป็นการบรรยายหรือที่เรียกว่า “ข้อมูลเชิงบรรยาย” (Descriptive Data) ประกอบด้วยข้อมูล 2 ชนิด
                        2.1.1ข้อมูลที่อธิบายสิ่งที่คาดหวังของหลักสูตรเกี่ยวกับสิ่งที่มีมาก่อนกระบวนการเรียนการสอน และผลผลิตของหลักสูตร
                        2.1.2ข้อมูลที่อธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติจริงซึ่งสังเกตได้เกี่ยวกับสิ่งที่มีมาก่อนกระบานการเรียนการสอย ผลผลิตของหลักสูตร ผู้ประเมินจะต้องอธิบายความสัมพันธ์ ระหว่างสิ่งที่มาก่อน กระบวนการสอน และผลผลิต ของหลักสูตรและความสอดคล้องของสิ่งที่คาดหวังและสิ่งที่เกิดขึ้นจริง
                2.2 ส่วนที่เป็นการพิจารณาตัดสินคุณค่าของหลักสูตร หรือที่เรียกว่า “ข้อมูลเชิงตัดสิน” (Judgemental Data) ประกอบด้วยข้อมูล 2 ชนิด
                        2.2.1ข้อมูลที่เป็นเกณฑ์มาตรฐาน
                        2.2.2ข้อมูลที่เป็นการตัดสินของผู้อื่น
    3.วิธีการใช้ตารางในการประเมินผลของหลักสูตร
                 การพิจารณาข้อมูลตามแนวตั้ง เริ่มต้นด้วยการพิจารณาข้อมูลทั้ง 3 หมวดตามเกณฑ์ที่ตั้งขึ้น เช่นจากตารางตัวอย่างของ สเตค จะเริ่มที่ด้าน
                1. สิ่งที่มีมาก่อน
                         1.1 บุคลิกและนิสัยของนักเรียน เราก็จะพิจารณาว่าวัตถูประสงค์หรือสิ่งที่คาดหวังของด้านนี้คืออะไร แล้วนำมาเปรียบเทียบกับผลที่เกิดขึ้นสอดคล้องกับวัตถุประสงค์หรือไม่เพียงใด และผลที่เกิดขึ้นนั้นใช้อะไรเป็นตัววัด เป็นหลักในการตัดสิน


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น