วันพฤหัสบดีที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

รูปแบบการประเมินหลักสูตรของสตัฟเฟิลบีม


รูปแบบของการประเมินหลักสูตรของสตัฟเฟิลบีม (Stufflebeam)
Daniel L. Stufflebeam                                           

                แดเนียล แอล สตัฟเฟิลบีม (Daniel L. Stufflebeam) ได้อธิบายความหมายของการประเมินผลทางการศึกษาเอาไว้ว่าเป็นกระบวนการการบรรยายการหาข้อมูล และการใช้ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจหาทางเลือก รูปแบบการประเมินของสตัฟเฟิลบีมเป็นรูปแบบที่เหมาะสมแก่การช่วยตัดสินใจเพื่อหาทางเลือกที่ดีที่สุดตามปกติสถานการณ์ในการตัดสินใจ จะประกอบไปด้วยมิติที่สำคัญ 2 ประการ
                 1.มิติด้านข้อมูลที่มีอยู่ (Information Grasp)
                 2.มิติด้านปริมาณความเปลี่ยนแปลงที่ต้องการให้เกิดขึ้น (Degree of Change)


             
จากรูปแบบการประเมินผลหลักสูตรตามแนวคิดของสตัฟเฟิลบีมแสดงให้เห็นว่า
                 1.สถานการณ์ตัดสินใจที่ต้องการให้มีการเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย แต่ทว่าข้อมูลที่จะช่วยในการตัดสินใจนั้นมีอยู่มาก สถานการณ์ตัดสินใจอย่างนี้เรียกว่า Homeostatic
                 2.สถานการณ์ตัดสินใจที่ต้องการให้มีการเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย และข้อมูลที่จะช่วยในการตัดสินใจนั้นมีอยู่น้อย สถานการณ์ตัดสินใจอย่างนี้เรียกว่า Incremental
                 3.สถานการณ์ตัดสินใจที่ต้องการให้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก และข้อมูลที่จะช่วยในการตัดสินใจนั้นมีอยู่น้อย สถานการณ์ตัดสินใจอย่างนี้เรียกว่า Neomobilistic
                 4.สถานการณ์ตัดสินใจที่ต้องการให้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก และข้อมูลที่จะช่วยในการตัดสินใจนั้นมีอยู่มาก สถานการณ์ตัดสินใจอย่างนี้เรียกว่า Metamorphismจากที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่า การตัดสินใจไม่ว่าจะอยู่ในสถานการณ์แบบไหน จำเป็นต้องอาศัยข้อมูลเชิงประมาณ (Evaluation Data) มาช่วยเป็นพื้นฐาน ในการตัดสินใจ
                 ถ้าพิจารณาในแง่ของวิธีการกับผลที่เกิดขึ้นและสิ่งที่คาดหวังกับสิ่งที่เกิดขึ้นจริง เราอาจจำแนกการตัดสินใจได้เป็น 4 ประเภท คือ
 สตัฟเฟิลบีมได้ให้แนวคิดไว้ว่า การประเมินผลหลักสูตรนั้นมีสิ่งสำคัญที่เราต้องประเมินอยู่ 4 ด้าน คือ
   1.การประเมินสภาพแวดล้อม (Context Evaluation) ในการประเมินสภาพแวดล้อมนี้ ผู้ประเมินอาจใช้วิธีดังต่อไปนี้
          1.1 การวิเคราะห์ความคิดรวบยอด
          1.2 การทำวิจัยด้วยการเก็บข้อมูลมาวิเคราะห์จริงๆ
          1.3 การอาศัยทฤษฎีและความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ
  2.ประเมินตัวป้อน (Inputs Evaluation) อาจทำได้โดย
          2.1 จัดทำในรูปแบบของขณะกรรมการ
          2.2 อาศัยงานวิจัยที่เกี่ยวข้องที่มีผู้ทำเอาไว้แล้ว
          2.3 ว่าจ้างผู้เชี่ยวชาญมาให้คำปรึกษา
          2.4 ทำการวิจัยเชิงทดลองเป็นการนำร่อง
  3.การประเมินกระบวนการ (Process Evaluation) มีด้วยกันหลายวิธี
          3.1 การสังเกตแบบมีส่วนร่วมปฏิบัติ
          3.2 การวิเคราะห์ความสัมพันธ์
          3.3 การสัมภาษณ์
          3.4 การใช้แบบสอบถามประเภทมาตราส่วนประมาณค่า
          3.5 การเขียนรายงานประเภทปลายเปิด
  4.การประเมินผลผลิต (Products Evaluation)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น