วันเสาร์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2561

คำถามท้ายบทที่ 3


คำถามท้ายบท บทที่ 3
1.สืบค้นจากหนังสือในระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เรื่อง ประเภทของหลักสูตร การอกแบบหลักสูตร
ตอบ   1. หลักสูตรบูรณาการ (The Integrated Curriculum)  เป็นการผสมผสานเนื้อหาเข้าด้วยกัน ไม่แยกเป็นรายวิชาจะเน้นที่ตัวเด็ก และปัญหาสังคมเป็นสำคัญ เช่น หลักสูตรประถมศึกษา พ.ศ. 2521
2.หลักสูตรกว้าง(The Broard Field Curriculum) จุดมุ่งหมาย ผสมผสานเนื้อหาวิชา เช่น หลักสูตรประถมศึกษา และหลักสูตรมัธยมศึกษา พ.ศ. 2503
3.หลักสูตรประสบการณ์ (The Experience Curriculum) เป็นการแก้ไขข้อบกพร่องของหลักสูตรแบบรายวิชาที่ไม่คำนึงถึงความต้องการและความสนใจของผู้เรียน
4.หลักสูตรรายวิชา ( The Subject Curriculum) หลักสูตรที่เน้นการถ่ายทอดเนื้อหาวิชา
5.หลักสูตรแกน (The Core Curriculum) หลักสูตรแบบนี้จะกำหนดวิชาใดวิชาหนึ่งเป็นศูนย์กลาง
6.หลักสูตรแฝง (Hidden curriculum) เป็นหลักสูตรที่ไม่ได้กำหนดแผนการเรียนรู้เอาไว้ล่วงหน้าและเป็นประสบการณ์การเรียนรู้ที่โรงเรียนไม่ได้ตั้งใจจะจัดให้
7.หลักสูตรสัมพันธ์วิชา ( Correlated Curriculum) เป็นหลักสูตรที่นำเนื้อหาต่างๆ ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันและมีส่วนเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันจัดไว้ด้วยกัน
8.หลักสูตรเกลียวสว่าน (Spiral Curriculum) เป็นการจัดเนื้อหาหรือหัวข้อเนื้อหาเดียวกันในทุกระดับชั้น แต่มีความยากง่ายและความลึกซึ้งแตกต่างกัน
9.หลักสูตรสูญ (Null curriculum) เป็นหลักสูตรที่ไม่ได้มีปรากฏอยู่ให้เห็นในแผนการเรียนรู้ และเป็นสิ่งที่โรงเรียนไม่ได้สอนทางเลือกที่ไม่ได้จัดเตรียมไว้ให้ผู้เรียน ความคิดและทรรศนะที่ผู้เรียนไม่เคยสัมผัสและเรียนรู้สิ่งที่ผู้เรียนจะนำไปประยุกต์ใช้ได้แต่มีไว้ไม่พอ รวมทั้งความคิดและทักษะที่ไม่ได้รวมไว้ในกิจกรรมทางปัญญา
การออกแบบหลักสูตร (curriculum design)
         การจัดรายละเอียดองค์ประกอบของหลักสูตร ซึ่งประกอบด้วย เป้าหมาย จุดหมาย เนื้อหาสาระ การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ และการประเมินผล ดังนั้นหากจะเปรียบการพัฒนาหลักสูตร คือ การสร้างบ้าน การออกแบบหลักสูตรก็คือการออกแบบให้ได้มาซึ่งพิมพ์เขียว หรือรูปแบบของบ้าน ที่มีรายละเอียดของห้องต่าง ๆ เป็นการจัดส่วนประกอบต่าง ๆ ของบ้านให้เหมาะสมกลมกลืน เหมาะกับการใช้งาน
  ส่วนประกอบหลักสูตร 4 ส่วนหลัก
1.เป้าหมาย จุดหมาย และวัตถุประสงค์ของหลักสูตร
2.เนื้อหาสาระ
3.กิจกรรมการเรียนการสอน
4.การประเมินผล                                   
 ออนสไตน์และฮันคินส์ และ เฮนเสน กล่าวไว้สอดคล้องกันว่า การออกแบบหลักสูตรที่ดีต้องมีหลักในการพิจารณา 6 ประการดังนี้
           1. การกำหนดขอบข่ายหลักสูตร  หมายถึง การกำหนดเนื้อหา สาระการเรียนรู้ หัวข้อ ประเด็นสำคัญต่าง ๆ แนวคิด ค่านิยม หรือคุณธรรมที่สำคัญ สำหรับผู้เรียนในรายวิชาต่าง ๆ ของหลักสูตรแต่ละระดับชั้น
          2. การจัดลำดับการเรียนรู้ หมายถึง การจัดลำดับก่อนหลังของเนื้อหา สาระการเรียนรู้ หัวข้อ ประเด็นที่สำคัญต่าง ๆ ให้แก่ผู้เรียนได้เรียนรู้ไปตาม วัย วุฒิภาวะ และพัฒนาการทางสติปัญญา
3. ความต่อเนื่อง หมายถึง การจัดเนื้อหา ประสบการณ์ การเรียนรู้ ทักษะต่าง ๆ ให้มีความต่อเนื่องตลอดหลักสูตร หลักสูตรที่ดีนอกจากมีการจัดขอบข่ายและลำดับการเรียนรู้ที่ดีแล้ว ยังต้องมีความต่อเนื่องของเนื้อหาที่เหมาะสมอีกด้วย
         4. สอดคล้องเชื่อมโยง  การจัดหลักสูตรที่ดีควรคำนึงถึง ความสอดคล้องเชื่อมโยง ให้มี ความต่อเนื่องกันของเนื้อหา ประสบการณ์การเรียนรู้ และทักษะที่อยู่ในระดับชั้นเดียวกัน เช่น การจัดหลักสูตรสังคมศึกษา ชั้น ม.1 ให้เนื้อหาภูมิศาสตร์ประเทศไทยมีความสัมพันธ์สอดคล้องเชื่อมโยงกับเนื้อหาประวัติศาสตร์ไทย เป็นต้น
          5. การบูรณาการ เป็นการจัดขอบข่ายเนื้อหาและประสบการณ์การเรียนรู้ในหลักสูตรให้มีความสัมพันธ์เชื่อมโยง จากหัวข้อหนึ่งไปยังอีกหัวข้อหนึ่งของรายวิชานั้น หรือ จากรายวิชาหนึ่งไปยังอีกรายวิชาหนึ่งที่มีความเกี่ยวข้องกัน
         6. ความสมดุล   หลักสูตรที่ดีนอกจากจะต้องคำนึงถึงการจัดขอบข่ายเนื้อหา และมีลำดับการเรียนรู้ ที่ดีแล้ว ยังควรต้องพิจารณาด้านความสมดุลของเนื้อหา ประสบการณ์การเรียนรู้ และทักษะของรายวิชาต่าง ๆ ความสมดุลระหว่างเนื้อหาสาระกับวุฒิภาวะของผู้เรียน ความสมดุลของหลักสูตร จึงเป็นสิ่งที่นักพัฒนาหลักสูตรต้องให้ความสนใจ
   ประโยชน์ของการออกแบบหลักสูตร
      การออกแบบหลักสูตรที่ดีจะเป็นประโยชน์ต่อการจัดการศึกษา ฮอลล์ (Hall.1962 อ้างถึงใน ปราณี สังขะตะวรรธน์และสิริวรรณ ศรีพหล. 2545 : 97 – 98) ได้กล่าวถึงประโยชน์ของการออกแบบหลักสูตรไว้ ดังนี้
          1.การออกแบบเป็นการเน้นที่เป้าหมาย จุดหมาย และวัตถุประสงค์ของงานเป็นสำคัญ การออกแบบหลักสูตรจึงเป็นการสร้างความมั่นใจว่าหลักสูตรที่สร้างขึ้น สามารถนำมาเป็นแนวทางในการปฏิบัติ เพื่อนำไปสู่ความสำเร็จ หรือจุดหมายของการจัดการศึกษานั้นได้
          2.การออกแบบหลักสูตรที่ดีช่วยเพิ่มโอกาสของความสำเร็จในการจัดการศึกษา การออกแบบเป็นการจัดองค์ประกอบหลักสูตรทั้ง 4 ที่จะเป็นแนวทางให้กับผู้ใช้หลักสูตรได้ดำเนินการ โดยเริ่มตั้งแต่การศึกษาวัตถุประสงค์หรือเป้าหมาย การให้สาระความรู้ที่จำเป็น วิธีการนำเสนอสาระความรู้ หรือ แนวการดำเนินการเรียนการสอน และการประเมินผลหรือการตัดสินว่าผู้เรียนได้บรรลุวัตถุประสงค์หรือไม่เพียงใด
       3.การออกแบบช่วยประหยัดเวลาและแรงงาน การออกแบบเป็นการสร้างพิมพ์เขียว เพื่อให้ผู้ใช้หลักสูตรได้เห็นประสบการณ์ที่จำเป็นที่ผู้เรียนต้องได้รับ การกำหนดรูปแบบต่าง ๆ การกำหนดวิธีการนำหลักสูตรไปใช้ การกำหนดทิศทางรูปแบบการเรียนการสอน ช่วยให้ผู้ใช้หลักสูตรมีความเข้าใจในกระบวนการต่าง ๆ สามารถนำไปปฏิบัติและประยุกต์ใช้ได้
          4.การออกแบบที่ดีช่วยในการสื่อสารและประสานงาน นักออกแบบที่สามารถออกแบบหลักสูตร เอกสารการสอน และคู่มือต่าง ๆ ช่วยเพิ่มความเข้าใจในการนำหลักสูตรไปใช้ โดยอาจจะไม่ต้องใช้เวลามาจัดอบรม เพื่อชี้แจงเกี่ยวกับหลักสูตร และการนำหลักสูตรไปใช้
          5.การออกแบบช่วยลดภาวะความตึงเครียด เนื่องจากการออกแบบหลักสูตรเป็น การวางแผนสำหรับการจัดการศึกษาที่มีเป้าหมาย และวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน การออกแบบหลักสูตรเป็นการสร้างพิมพ์เขียวจากสิ่งที่เป็นนามธรรมไปสู่สิ่งที่เป็นรูปธรรม เพื่อให้ผู้ปฏิบัติสามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างไม่ยุ่งยาก
การออกแบบหลักสูตรประเภทต่างๆ
          ได้มีการจำแนกประเภทหรือรูปแบบของหลักสูตรไว้หลายรูปแบบด้วยกัน ซึ่งแต่ละ รูปแบบก็มีแนวคิดจุดมุ่งหมาย และโครงสร้างที่แตกต่างก็ออกไป ทั้งนี้เพื่อให้หลักสูตรมีความเหมาะสมกับสถานการณ์การจัดการเรียนรู้ที่มีอยู่หลากหลาย จึงได้มีการจัดประเภทรูปแบบของหลักสูตร ตามเกณฑ์ที่ยึดเป็นประเภทใหญ่ ๆ ดังนี้
         1. หลักสูตรที่ยึดสาขาวิชาและเนื้อหาสาระเป็นหลัก (disciplines / subjects curriculum) กลุ่มนี้ให้ความสำคัญกับการจัดเนื้อหาสาระวิชาที่จะเรียน มีรูปแบบของหลักสูตร 5 รูปแบบ ดังนี้
     1.1 หลักสูตรรายวิชา หรือหลักสูตรเนื้อหาวิชา (subject matter curriculum)
     1.2 หลักสูตรกว้าง หรือหลักสูตรหมวดวิชา (broad field curriculum) หรือหลักสูตรหลอมรวมวิชา   (fusion -curriculum)
     1.3 หลักสูตรสัมพันธ์วิชา หรือหลักสูตรแบบสหสัมพันธ์ (correlated curriculum)
     1.4 หลักสูตรแบบแกนกลาง หรือหลักสูตรแบบแกนร่วมกัน หรือหลักสูตรแบบแกน (core curriculum)
     1.5 หลักสูตรแบบบูรณาการ (integrated curriculum)
             2. หลักสูตรที่ยึดผู้เรียนเป็นหลัก (learners centred) หลักการของหลักสูตรนี้ยึด ผู้เรียนเป็นสำคัญ จัดหลักสูตรเพื่อสนองความต้องการ ความสามารถและความสนใจของผู้เรียนเป็นหลัก มีรูปแบบของหลักสูตร 3 รูปแบบดังนี้
     2.1 หลักสูตรแบบเอกัตบุคคล (individualized curriculum)
     2.2 หลักสูตรแบบส่วนบุคคล (personalized curriculum)
     2.3 หลักสูตรที่เน้นผู้เรียน (child – centered curriculum) หรือหลักสูตรที่ใช้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง(leaner – centred curriculum)
 3. หลักสูตรที่ยึดกระบวนการทางทักษะหรือประสบการณ์เป็นหลัก (process skill or experiencecurriculum) การจัดหลักสูตรประเภทนี้เป็นการเสริมสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับผู้เรียน และให้ผู้เรียนได้รู้จักการแก้ปัญหา ถ้าเป็นหลักสูตรที่ยึดกระบวนการเป็นหลักจะมุ่งเน้นการพัฒนาทักษะกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียนมีรูปแบบของหลักสูตร 3 รูปแบบ ดังนี้
     3.1 หลักสูตรเพื่อชีวิตและสังคม หรือหลักสูตรที่ยึดกิจกรรมกระบวนการทางสังคมและการดำรงชีวิต (socialprocess and life function curriculum)
         3.2 หลักสูตรประสบการณ์ (experience curriculum) หรือหลักสูตรแบบกิจกรรมและประสบการณ์(activity and experience curriculum)
        3.3 หลักสูตรกระบวนการ (the process approach curriculum)
        3.4 หลักสูตรเกณฑ์ความสามารถ (the competency – based curriculum)
2. ศึกษาทำความเข้าใจเพิ่มเติมจาก สุเทพ อ่วมเจริญ   การพัฒนาหลักสูตร : ทฤษฎีหลักสูตรปฏิบัติ  “การพัฒนาหลักสูตร : การออกแบบหลักสูตร”
ตอบ  ทาบา (Taba, 1962) นักพัฒนาหลักสูตรชาวอเมริกัน ให้ความเห็นสนับสนุนให้โรงเรียนเป็นผู้จัดทำหลักสูตรเอง โดยยึดหลักการดำเนินการจากระดับล่างหรือระดับรากหญ้า ทาบามีความเชื่อว่าครูใน โรงเรียนซึ่งเป็นผู้สอนโดยตรงควรจะเป็นผู้จัดทำหลักสูตรเองมากกว่าส่วนกลางหรือเจ้าหน้าที่ระดับสูงเป็นผู้จัดทำและจัดส่งมาให้ และกล่าวว่าครูควรจะเริ่มกระบวนการพัฒนาหลักสูตรจากการสร้างหน่วยการเรียนการสอนในเนื้อหาเฉพาะสำหรับเด็กในโรงเรียนก่อน ความเห็นดังกล่าวสอดคล้องกับนโยบายปฏิรูปการศึกษาในครั้งนี้  ทาบา (Taba, 1962) ได้กำหนดกระบวนการพัฒนาหลักสูตรในระดับโรงเรียนออกเป็น 5 ขั้นตอน ซึ่งสามารถปรับใช้ได้กับบริบทของประเทศไทย ดังนี้
          1. การผลิตหน่วยการเรียนการสอนหรือหลักสูตรเฉพาะรายวิชา การดำเนินการจะเป็นไปในลักษณะนำร่องกระบวนการจัดทำหลักสูตรในลักษณะหน่วยการเรียนหรือหลักสูตรเฉพาะรายวิชา มีกิจกรรมดำเนินการ 8 ประการ ดังนี้
 1.1 การวิเคราะห์ความต้องการของผู้เรียน ในขั้นนี้คณะกรรมการหลักสูตรของโรงเรียนจะสำรวจความต้องการของผู้เรียนเพื่อใช้เป็นกรอบในการจัดทำหลักสูตร โดยพิจารณาจากช่องว่าง จุดบกพร่องและความหลากหลายแห่งภูมิหลังของผู้เรียน
 1.2 การกำหนดจุดหมาย ภายหลังจากได้วิเคราะห์ความต้องการของนักเรียนแล้ว ผู้วางแผนหลักสูตรจะช่วยกันกำหนดจุดหมายที่ต้องการ
1.3 การเลือกเนื้อหา เนื้อหาสาระหรือหัวข้อเนื้อหาที่จะนำมาศึกษาได้มาโดยตรงจากจุดหมาย คณะผู้ทำหลักสูตรไม่เพียงแต่จะต้องพิจารณาจุดหมายในการเลือกเนื้อหาเท่านั้น แต่จะต้องพิจารณาความสอดคล้องและความสำคัญของเนื้อหาที่เลือกด้วย
1.4 การจัดเนื้อหา  เมื่อได้เนื้อหาสาระแล้ว  งานขั้นต่อไปคือ การจัดลำดับเนื้อหา ซึ่งอาจจัดตามลำดับจากเนื้อหาที่ง่ายไปสู่เนื้อหาที่ยาก หรืออาจจัดตามลักษณะหรือธรรมชาติของเนื้อหาสาระที่ต้องการให้ผู้เรียนเรียนรู้  การจัดเนื้อหาที่เหมาะสมควรจะสอดรับกับวุฒิภาวะของผู้เรียน  ความพร้อมของผู้เรียนและระดับผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน
1.5 การเลือกประสบการณ์การเรียนรู้  ผู้พัฒนาหลักสูตรจะต้องเลือกวิธีการหรือยุทธวิธีที่ผู้เรียนสามารถนำไปใช้กับเนื้อหาได้  นักเรียนจะทำความเข้าใจเนื้อหาผ่านกิจกรรมการเรียนรู้ที่นักวางแผนหลักสูตรและครูเป็นผู้เลือก
 1.6 การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ครูเป็นผู้ตัดสินวิธีการที่จะจัดและกำหนดกิจกรรมการเรียนรู้  และการจัดลำดับขั้นตอนของการใช้กิจกรรม ในขั้นนี้ครูจะปรับยุทธวิธีให้เหมาะกับนักเรียนเฉพาะกลุ่มที่ครูรับผิดชอบ
1.7 การกำหนดสิ่งที่จะต้องประเมินและวิธีการในการประเมิน  ครูผู้สอนในฐานะผู้มีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตรจะต้องประเมินและตรวจสอบให้ได้ว่าหลักสูตรดังกล่าวบรรลุจุดหมายหรือไม่  ครูผู้สอนจะต้องเลือกเทคนิควิธีอย่างหลากหลายเพื่อใช้ให้เหมาะสมกับการวัดผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน  และให้สามารถบอกได้ว่าจุดหมายของหลักสูตรได้รับการตอบสนองหรือไม่
1.8  การตรวจสอบความสมดุลและลำดับขั้นตอน  ผู้จัดทำหลักสูตรจะต้องมุ่งเน้นที่การจัดทำหลักสูตรหรือหน่วยการเรียนการสอนให้คงเส้นคงวาและสอดคล้องภายในตัวหลักสูตรเอง การดำเนินการในลักษณะนี้ก็เพื่อให้ผู้เรียนเกิดประสบการณ์การเรียนรู้ที่เหมาะสมและเกิดความสมดุลในเนื้อหาและประเภทของการเรียนรู้
2.  การนำหลักสูตรหรือหน่วยการเรียนไปทดลองใช้  เมื่อคณะผู้รับผิดชอบหลักสูตรได้จัดทำหลักสูตรและเอกสารประกอบหลักสูตรในรูปของสื่อหรือบทเรียนต่าง ๆ เรียบร้อยแล้ว  คณะครูก็จะนำเอกสารหลักสูตรเหล่านั้นไปทดลองสอนในชั้นเรียนที่รับผิดชอบ มีการสังเกต  วิเคราะห์และเก็บรวบรวมผลการใช้หลักสูตรและการจัดกิจการรมในชั้นเรียน เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับการปรับปรุงหลักสูตรให้สมบูรณ์ขึ้นในโอกาสต่อไป
3.  การปรับปรุงเนื้อหาในหลักสูตรให้สอดคล้องกัน  ในขั้นตอนนี้จะต้องปรับหน่วยการเรียนหรือหลักสูตรให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนอย่างแท้จริง  โดยพิจารณาความสอดคล้องระหว่างความสามารถของผู้เรียนกับทรัพยากรที่โรงเรียนมีอยู่และกับพฤติกรรมการสอนของครู  มีการรวบรวมข้อจำกัดต่าง ๆ ที่ได้จากการทดลองไว้ในคู่มือครู  เพื่อจะใช้เป็นข้อสังเกตและแนวทางที่จะช่วยให้ครูได้จัดกิจกรรม การสอนอย่างรอบคอบ
4.  การพัฒนากรอบงาน  ภายหลังจากจัดทำบทเรียนหรือหลักสูตรรายวิชาต่าง ๆ จำนวนหนึ่งแล้ว  ผู้พัฒนาหลักสูตรจะต้องตรวจสอบหลักสูตรและสื่อในแต่ละหน่วยหรือแต่ละรายวิชา ในประเด็นของความเหมาะสมและความเพียงพอของขอบข่ายเนื้อหา และความเหมาะสมของการจัดลำดับเนื้อหา  ครูหรือผู้เชี่ยวชาญทางด้านการพัฒนาหลักสูตรจะต้องรับผิดชอบจัดทำหลักการและเหตุผลของหลักสูตรโดยดำเนินการผ่านกระบวนการการพัฒนากรอบงาน
5.  การนำหลักสูตรไปใช้และเผยแพร่  เพื่อให้ครูที่เกี่ยวข้องนำหลักสูตรไปใช้จริงในระดับห้องเรียนอย่างได้ผล จำเป็นที่ผู้บริหารจะต้องจัดฝึกอบรมครูประจำการอย่างเหมาะสม
กระบวนการพัฒนาหลักสูตรทั้ง 5 ขั้นตอนที่กล่าวมามีลักษณะที่เป็นเชิงวิชาการอยู่มาก  ดังนั้นเมื่อมีการจัดทำหลักสูตรในสถานการณ์จริงผู้รับผิดชอบสามารถปรับปรุงกิจกรรมและขั้นตอนให้เหมาะสมกับธรรมชาติของเนื้อหาวิชา  สภาพท้องถิ่นและเงื่อนไขอื่น ๆ ได้ อย่างไรก็ตามในเวลาปฏิบัติงาน  เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นก็สามารถปรึกษาหารือกับผู้รู้และผู้เชี่ยวชาญในด้านนี้ได้ความได้เปรียบของการสร้างหลักสูตรโดยคณะบุคคลในสถานศึกษาก็คือ สามารถตรวจสอบผลงานและปรับปรุงแก้ไขให้ถูกต้องเหมาะสมได้ตลอดเวลา  เพราะมีนักเรียนซึ่งพร้อมที่จะให้ความร่วมมือในการทดลองใช้ในทุกขั้นตอนและตลอดเวลา
กู๊ด (Good) ได้ให้ความเห็นว่า “ การพัฒนาหลักสูตรเกิดได้ 2 ลักษณะ คือ การปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงหลักสูตร การปรับปรุงหลักสูตรเป็นวิธีการพัฒนาหลักสูตรอย่างหนึ่งเพื่อให้เหมาะสมกับโรงเรียนหรือระบบโรงเรียน จุดมุ่งหมายของการสอน วัสดุอุปกรณ์ วิธีสอน รวมทั้งการประเมินผล ส่วนคำว่าเปลี่ยนแปลงหลักสูตร หมายถึงการแก้ไขหลักสูตรให้แตกต่างไปจากเดิม เป็นการสร้างโอกาสทางการเรียนขึ้นใหม่ ”
     เซเลอร์ และอเล็กซานเดอร์ (Saylor and Alexander) ให้ความหมายว่า “ การพัฒนาหลักสูตร หมายถึง การจัดทำหลักสูตรเดิมที่มีอยู่แล้วให้ดีขึ้น หรือเป็นการจัดทำหลักสูตรใหม่โดยไม่มีหลักสูตรเดิมอยู่ก่อน การพัฒนาหลักสูตร อาจหมายรวมถึงการสร้างเอกสารอื่นๆ สำหรับนักเรียนด้วย ”
การออกแบบหลักสูตร (Curriculum Design) ตามขั้นตอนของ SU Model เป็นสามเหลี่ยมรูปที่สอง ซึ่งจะนำจุดมุ่งหมายของหลักสูตรมาจัดทำกรอบการปฏิบัติ หลักสูตรที่จัดทำขึ้นเพื่อมุ่งพัฒนาผู้เรียนให้ได้รับการพัฒนาตามกระบวนการของหลักสูตร
1. โมเดลต้นแบบเชิงวัตถุประสงค์ (Objective Model)
Tyler ได้พัฒนาโมเดลต้นแบบเชิงวัตถุประสงค์ หรือ แบบจำลองการพัฒนาหลักสูตรของไทเลอร์ ถือว่าเป็นต้นแบบของการพัฒนาหลักสูตร จากหนังสือ Basic Principles of Curriculum and Instruction ของ Ralph W. Tyler (1949) ได้ให้แนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรและการวางแผนการสอน โดยตั้งคำถามพื้นฐานไว้ 4 ข้อ ได้แก่
     1.  มีจุดมุ่งหมายทางการศึกษาอะไรบ้างที่โรงเรียนต้องแสวงหา (What educational purposes should
     2.  มีประสบการณ์ทางการศึกษาอะไรบ้างที่โรงเรียนควรจัดขึ้นเพื่อให้บรรลุจุดประสงค์ที่กำหนดไว้ (What
     3.  จะจัดประสบการณ์ทางการศึกษาอย่างไร จึงจะทำให้การสอนมีประสิทธิภาพ (How can these
     4.  จะประเมินประสิทธิผลของประสบการณ์ในการเรียนอย่างไร (How can we determine whether
ซึ่งคำถาม 4 ข้อนี้ เป็นคำถามที่จะนำไปสู่ ขั้นตอนในการออกแบบ คือ
1) การกำหนดจุดมุ่งหมาย
2) การออกแบบประสบการณ์ทางการศึกษา
3) การจัดประสบการณ์ทางการศึกษา
4) การประเมินประสิทธิผล
2. การปรับปรุงโมเดลโดยฮิลดา ทาบา
ต่อมาในปี 1962 Taba ได้เสนอลำดับขั้นตอนของกระบวนการพัฒนาหลักสูตรเพื่อปรับปรุงโมเดลให้มีความชัดเจนขึ้น โดยแบ่งออกเป็น 7 ขั้น ได้แก่
1.วิเคราะห์ความต้องการ      
2. กำหนดจุดประสงค์        
3. เลือกเนื้อหา        
4. จัดการเนื้อหา        
5. เลือกกิจกรรมการสอนเพื่อประสบการณ์ทางการศึกษา      
6. จัดกิจกรรมการสอนเพื่อประสบการณ์ทางการศึกษา   
7. ตรวจสอบความสมดุลและลำดับขั้นตอน
3. รูปแบบการออกแบบหลักสูตรที่เน้นเนื้อหาวิชา เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
1 รูปแบบการออกแบบหลักสูตรที่เน้นเนื้อหาวิชา
กล่าวว่า หลักสูตรที่เน้นเนื้อหาวิชาเกี่ยวข้องกับความรู้และทักษะของการศึกษาทางด้านศิลปศาสตร์ ซึ่งหมายถึงการศึกษาทางวิชาการ (academic education) ไม่ใช่ทางอาชีวศึกษา เน้นพัฒนาการทางสติปัญญาและเหตุผล สร้างคนให้มีความรู้เพื่อเตรียมตัวเป็นผู้ที่มีความสามารถในการทำงานให้สังคมประชาธิปไตย
2 รูปแบบการออกแบบหลักสูตรที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญหลักสูตรที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญให้ความสำคัญต่อพัฒนาการของผู้เรียนแต่ละบุคคลมากกว่าเนื้อหาสาระวิชา ดังนั้นหลักสูตรที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญจึงไม่ใชหลักสูตรรายวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ฯลฯ แต่เป็นหลักสูตรแห่งความสนใจและประสบการณ์
3 รูปแบบการออกแบบหลักสูตรที่เน้นปัญหาสังคมเป็นสำคัญ
หลักสูตรที่เน้นปัญหาสังคมเป็นสำคัญ เป็นการออกแบบที่เน้นปัญหาทางสังคมเป็นสาระ ไม่ใช่มองที่เนื้อหา วิชาเป็นสาระ ปัญหาสังคม ได้แก่ ปัญหาด้านการดำรงชีวิต ปัญหาชีวิต ปัญหาของชุมชน ปัญหาที่เป็นจริงในสังคมโลก ดังนั้น ถ้าโรงเรียนต้องการจัดหลักสูตรที่เน้นปัญหาสังคมเป็นสำคัญ โรงเรียนต้องจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้นักเรียนได้พบกับปัญหาสังคมที่เกิดขึ้นจริง ๆ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น