วันเสาร์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2561

หลักสูตรประสบการณ์


หลักสูตรประสบการณ์

หลักสูตรประสบการณ์เกิดขึ้นเพื่อแก้ปัญหาที่ว่าหลักสูตรเดิมที่ใช้อยู่  ไม่ว่าจะเป็นหลักสูตรรายวิชาหรือหลักสูตรกว้าง ล้วนไม่ส่งเสริมให้ผู้เรียนสนใจและและกระตือรือร้นในการเรียนเท่าที่ควร
แรกที่เดียวหลักสูตรนี้มีชื่อว่าหลักสูตรกิจกรรม ที่เปลี่ยนชื่อไปก็ เนื่องจากได้มีการแปลเจตนารมณ์ของหลักสูตรผิดไปจากเดิม  กล่าวคือ มีบุคคลบางกลุ่มคิดว่าถ้าให้ผู้เรียนทำกิจกรรมต่างๆด้วยตนเองแล้ว ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมอะไรผู้เรียนก็จะเรียนรู้สิ่งที่เป็นประโยชน์ เข้าทำนองว่าขอให้ทำกิจกรรมก็เป็นใช้ได้

  1.วิวัฒนาการของหลักสูตร

หลักสูตรประสบการณ์ถูกนำมาใช้ครั้งแรกที่โรงเรียนทดลอง (Laboratory school) ของมหาวิทยาลัยซิคาโก ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อปี ค.ศ. 1896  โดยจอห์นและแมรีดิวอี้  และถ้าจะทำให้นักเรียนเกิดความกระตือรือร้นและมีความสนใจ จะต้องอาศัยแรงกระตุ้น 4 อย่าง ดังนี้
1. แรงกระตุ้นทางสังคม (Social Impulse) ซึ่งเห็นได้จากการที่ผู้เรียนมีความปรารถนาที่จะคบหาสมาคมกับเพื่อน
2.แรงกระตุ้นทางสร้างสรรค์ (Constructive Impulse) ซึ่งสังเกตได้จากการที่ผู้เรียนไม่อยู่นิ่ง ชอบเล่น ชอบทำกิจกรรม ชอบเล่นสมมุติ ชอบประดิษฐ์สิ่งต่างๆ ฯลฯ
3.แรงกระตุ้นจากการค้นคว้าทดลอง (Impulse to Investigate and Experiment) หมายถึงความอยากรู้อยากเห็น  รวมทั้งอยากทดลองทำสิ่งที่ตื่นเต้นและสงสัย
4.แรงกระตุ้นทางการแสดงออกด้วยคำพูด การกระทำและทางศิลปะ (Expressive or Artistic Impulse)  ได้แก่ การแสดงออกในด้านการขีดเขียน  การพูด  การวาดภาพ  การเล่นดนตรี ฯลฯ

          จอห์น ดิวอี้ ถือว่าแรงกระตุ้นทั้ง 4 อย่างนี้ ผู้เรียนมีอยู่พร้อมและจะนำออกมาใช้ตามขั้นตอนของพัฒนาการของตน  ดังนั้น  ถ้าจะให้ผู้เรียนรู้และมีทักษะในด้านใดด้านหนึ่ง ก็ควรเริ่มต้นจากกิจกรรมที่เป็นแรงกระตุ้นอยู่แล้ว และถ้าจะให้เกิดผลดียิ่งขึ้น กิจกรรมต่างๆเหล่านั้นควรมีประโยชน์แก่ผู้เรียนด้วย  โดยเฉพาะควรเป็นกิจกรรมประเภทการงานที่มีประโยชน์ต่อชีวิตประจำวันด้วย เช่น งานประกอบอาหาร งานเย็บปักถักร้อย และงานช่าง

ในปี ค.ศ.1904 นักการศึกษาอีกท่านหนึ่งชื่อ มิเรียม (J.L Meriam) ได้ทดลองนำหลักสูตรประสบการณ์ไปใช้ในโรงเรียนประถมของมหาวิทยาลัยมิสซูรี โดยกำหนดขอบเขตของหลักสูตรให้ครอบคลุมกิจกรรม 4 อย่าง
ในปี ค.ศ. 1918 นักการศึกษาอเมริกาที่มีชื่อเสียงอีกท่านหนึ่งคือ วิลเลียมคิลแพทริก (W.H. kilpatrick)
ได้เขียนบทความชื่อ วิธีการสอนแบบโครงการ(The project Method)

  2. ลักษณะสำคัญของหลักสูตร

1. ความสนใจของผู้เรียน เป็นตัวกำหนดเนื้อหา และเค้าโครงหลักสูตร ลักษณะข้อนี้หมายความว่า จะสอนอะไร เมื่อใด และจะเรียงลำดับการสอนก่อนหลังอย่างไรขึ้นอยู่กับความสนใจและความต้องการของผู้เรียน กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ กิจกรรมที่ผู้เรียนกระทำเป็นกิจกรรมที่เขามองเห็นความจำเป็นและประโยชน์อย่างแท้จริงไม่ใช่สนใจเพราะเห็นว่าเป็นเรื่องสนุกสนานและไม่ใช่เป็นกิจกรรมที่ผู้ใหญ่คิดเอาเองว่าเป็นสิ่งที่ผู้เรียนสนใจ 
อย่างไรก็ตามปัญหาที่ผู้สอนยังต้องเผชิญอยู่ก็คือ จะทำอย่างไรกับความต้องการของผู้เรียนแต่ละคนและทั้งหมดในชั้น เป็นหน้าที่ของผู้สอนที่จะต้องค้นหาความสนใจทั้งสองประเภทนี้เสียก่อนแล้วช่วยให้ผู้เรียนเลือกว่าอะไรคือความสนใจที่แท้จริง อะไรที่มีคุณค่าสำหรับส่วนรวมและแต่ละคนทั้งนี้เพื่อจะได้สามารถสนองความต้องการและความสนใจของผู้เรียนได้อย่างเต็มที่
2. วิชาที่ผู้เรียนทุกคนต้องเรียน
คือวิชาที่ผู้เรียนมีความสนใจรวมกันความสนใจรวมกันจะต้องอาศัยความรู้เรื่องพัฒนาการของเด็ก รวมทั้งพื้นฐานครอบครัว ซึ่งจะชี้ถึงค่านิยมละความสนใจของผู้เรียนด้วยการที่ต้องอาศัยความสนใจของผู้เรียนเป็นหลักทำให้เห็นความแตกต่างระหว่างหลักสูตรประสบการณ์กับหลักสูตรรายวิชา และหลักสูตรแกนโดยที่เนื้อของหลักสูตรแบบหลังทั้งสองแบบจะถูกกำหนดไว้ล่วงหน้าแต่หลักสูตรประสบการณ์กำหนดเนื้อหาจากความสนใจของผู้เรียนเป็นคราวๆ ไป
3. โปรแกรมการสอนไม่ได้กำหนดไว้ล่วงหน้า
ในหลักสูตรแบบนี้ผู้สอนไม่สามารถกำหนดกิจกรรมการเรียนไว้ล่วงหน้า แต่ทั้งนี้มิได้หมายความว่าผู้สอนไม่เตรียมตัวการสอนเลย  อย่างน้อยที่สุดสิ่งที่ผู้เรียนต้องกระทำก่อนการสอนก็คือ การสำรวจความสนใจของผู้เรียนแต่ละคนและทั้งชั้น
  4.  ใช้วิธีแก้ปัญหาเป็นหลักใหญ่ในการเรียนการสอน
นหลักสูตรประสบการณ์ผู้สอนและผู้เรียนรวมกันพิจารณาตัดสินว่าควรจะทำกิจกรรมอะไร จึงเห็นได้ว่านับตั้งแต่เริ่มแรกก็มีปัญหาต้องขบคิดกันแล้ว คือปัญหาที่ว่าจะทำอะไร  อย่างไร และเมื่อใด  จะต้องอาศัยอะไรเป็นเครื่องช่วยเพื่อให้การกระทำสำเร็จผล ปัญหาและอุปสรรคที่จำเป็นต้องแก้ไขเป็นการล่วงหน้ามีอะไรบ้าง ฯลฯ

    3.  ปัญหาของหลักสูตรประสบการณ์

  1. ปัญหาการกำหนดวิชาในหลักสูตร หลักสูตรประสบการณ์นำเอาแนวความคิดใหม่มาใช้  คือแทนที่จะคิดในรูปแบบของวิชาอย่างหลักสูตรรายวิชา กลับมองความสนใจปัจจุบันของผู้เรียนเป็นหลัก  เมื่อเป็นดังนี้จึงเกิดปัญหาว่าผู้เรียนจะได้เรียนอะไร การกำหนดเนื้อหาย่อมทำได้ยาก ประสบการณ์ที่จัดให้ตามความสนใจอาจไม่ใช่ประสบการณ์ขั้นพื้นฐานที่จำเป็นก็ได้นอกจากนี้การที่ยึดความสนใจเป็นหลักอาจเกิดปัญหาเรื่องความต่อเนื่องของประสบการณ์รวมทั้งความต่อเนื่องของเนื้อหาวิชาที่เรียนด้วย

2. ปัญหาการจัดแบ่งวิชาเรียนในชั้นต่างๆ ในการจัดแบ่งเนื้อหาในชั้นต่างๆ หลักสูตรประสบการณ์ใช้หลักเดียวกันกับหลักสูตรรายวิชา คือพิจารณาจากวุฒิภาวะ ประสบการณ์เดิม เนื้อหาวิชาที่เรียนมาแล้ว  ความสมใจประโยชน์และความยากง่ายของเนื้อหา ข้อแตกต่างมีว่าหลักสูตรประสบการณ์ไม่ได้คิดเพียงการนำเอาเนื้อหาวิชามาเรียนลำดับกันเท่านั้น แต่จะพิจารณาด้วยว่าเนื้อหาอะไรที่ผู้เรียนจะเรียนได้ดีที่สุดและรวดเร็วที่สุด  ปัญหานี้ยังหาคำตอบที่พอใจไม่ได้
หลักสูตรประสบการณ์ (Experience Curriculum)
หลักสูตรประสบการณ์เน้นให้ผู้เรียนมีบทบาทและส่วนร่วมในการเลือกหากิจกรรมการเรียนที่มีประโยชน์และตรงกับจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้ในหลักสูตรและลักษณะการร่วมกิจกรรมนั้นต้องอยู่บนรากฐานของความถนัดและความสนใจของนักเรียน 

หลักสูตรประสบการณ์มีลักษณะตรงข้ามกับหลักสูตรเนื้อหาวิชาอย่างเห็นได้ชัดเพราะหลักสูตรเนื้อหาวิชายึดเนื้อหาวิชาเป็นจุดศูนย์กลางแต่หลักสูตรประสบการณ์ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น